การวิเคราะห์การลงทุนในกองทุนรวม [ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]
หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือของกลุ่มวิชาที่ 3: การวิเคราะห์หลักทรัพย์และการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนภายใต้หลักสูตร CISA ใหม่ระดับที่ 1 (หลักสูตรการวิเคราะห์และการจัดการลงทุนขั้นพื้นฐาน)
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม
กองทุนรวม (Mutual Fund) คือวิธีการที่ผู้ลงทุนหลาย ๆ คนนำเงินมาลงทุนร่วมกันจนทำให้เกิดเป็นกองทรัพย์สิน โดยมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่นำเงินที่ลงทุนร่วมกันไปลงทุนในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามนโยบายการลงทุนที่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า
ผู้ลงทุนแต่ละคนจะได้รับตราสารทางการเงินที่เรียกว่า “หน่วยลงทุน” เพื่อเป็นหลักฐานการมีส่วนร่วมตามสัดส่วนการลงทุนในกองทรัพย์สินดังกล่าว
ผู้ที่สามารถจัดตั้งกองทุนรวมจะต้องเป็น “บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)” ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังประเภทจัดการกองทุนรวม และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.
มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวม (Net Asset Value: NAV) คือมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวม รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ที่กองทุนจะได้รับ หักออกด้วยหนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมในช่วงเวลาเดียวกัน
NAV จะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันหรือแต่ละงวดที่มีการคำนวณขึ้น โดยขึ้นอยู่กับ
- การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน
- คุณภาพทรัพย์สินของกองทุนรวม
- ผลตอบแทนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง
- หนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม
- จำนวนหน่วยลงทุนที่ขายและรับซื้อคืน
- การจ่ายเงินปันผล
ประโยชน์ของกองทุนรวม
- ระบบเศรษฐกิจ: ช่องทางรวบรวมเงินออมจากผู้ลงทุนแล้วนำไปกระจายแก่ธุรกิจหรือผู้ต้องการเงินทุน
- ตลาดการเงิน คือ
- สร้างเสถียรภาพแก่ตลาดหุ้น
- เป็นแหล่งเงินทุนแก่บริษัทจดทะเบียน
- จุดดึงดูดผู้ลงทุนจากต่างประเทศ
- เพิ่มตัวเลือกการลงทุน
- ผู้ลงทุน
- ลงทุนหลากหลายโดยใช้เงินไม่มาก
- มืออาชีพบริหารเงินแทนคุณ
ผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการกองทุนรวม
- ผู้ประกอบการกองทุนรวม: บลจ. และตัวแทนขาย
- ผู้ลงทุน: บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
- ผู้ควบคุม ตรวจสอบและรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุน: สำนักงาน ก.ล.ต. ผู้ดูแลผลประโยชน์ นายทะเบียน ผู้สอบบัญชีกองทุน ผู้ชำระบัญชีกองทุนและสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ประเภทของกองทุนรวม
กองทุนรวมสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ
- แบ่งตามการขายคืนหน่วยลงทุน
1.1 กองทุนปิด: ไม่รับซื้อหน่วยลงทุนก่อนครบอายุโครงการ
1.2 กองทุนเปิด: รับซื้อหน่วยลงทุนก่อนครบอายุโครงการ
- แบ่งตามนโยบายการลงทุน
2.1 กองทุนรวมตลาดเงิน: ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งต้องไม่เป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิและอายุคงเหลือไม่เกิน 397 วันนับตั้งแต่วันที่ลงทุน
2.2 กองทุนรวมตราสารหนี้ แบ่งออกเป็น
- กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไป: ลงทุนตราสารหนี้หลายประเภท โดยไม่มีการกำหนดกรอบอายุตราสารหนี้ที่จะลงทุน
- กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น: อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ในกองทุนรวมต้องไม่เกิน 1 ปี
- กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว: อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ในกองทุนรวมต้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.3 กองทุนรวมผสม: ลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนทั้งแบบกำหนดและไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุน
2.4 กองทุนรวมตราสารทุน: ลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ, ใบสำคัญแสดงสุทธิในหุ้นสามัญ เป็นต้น อย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมในรอบปีบัญชี
2.5 กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม: ลงทุนในตราสารทุนของกิจการที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือเน้นลงทุนเพียงบางอุตสาหกรรม เช่น พลังงานหรือการแพทย์ อย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมในรอบปีบัญชี
2.6 กองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือก: ลงทุนในทรัพย์สินอื่น ๆ อย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ได้แก่
- กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมัน สินค้าทางการเกษตร เป็นต้น
- กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์: แสวงหาผลตอบแทนที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอในรูปของค่าเช่าเป็นหลัก จ่ายปันผลอย่างน้อย 90% ของกำไรสุทธิเป็นรายปีหรือไตรมาส
- กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์: คล้ายคลึงกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่มีความยืดหยุ่นกว่า จ่ายปันผลอย่างน้อย 90% ของกำไรสุทธิเป็นรายปีหรือไตรมาส
- กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน: ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานอย่างน้อย 75% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
- แบ่งตามลักษณะพิเศษ
3.1 กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น: ลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อความปลอดภัยของเงินต้น
3.2 กองทุนรวมมีประกัน: บลจ. จัดให้มีสถาบันการเงินเป็นผู้ประกันเงินต้นหรือผลตอบแทน หรือทั้งเงินต้นและผลตอบแทน
3.3 กองทุนรวมเพื่อลงทุนต่างประเทศ: ลงทุนทรัพย์สินต่างประเทศเฉลี่ยอย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมในรอบปี แบ่งออกเป็น
- Feeder Fund: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นเพียงกองเดียวที่เรียกว่า “Master Fund”
- Fund of Funds: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น ๆ หลายกองที่มีนโยบายการลงทุนแบบเดียวกันหรือแตกต่างกัน
3.4 กองทุนรวมที่มีกำหนดอายุโครงการ: อายุโครงการหรือระยะเวลาการลงทุนที่แน่นอน เช่น 3 เดือน, 6 เดือน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 ปี
3.5 กองทุนรวมทริกเกอร์: กองทุนปิดที่มีการตั้งเป้าหมายผลตอบแทนไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นกองทุนรวม โดยจะปิดตัวทันทีเมื่อทำผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายและขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ
3.6 กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย: สำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
3.7 กองทุนรวมดัชนี: จัดการลงทุนเลียนแบบหรือเหมือนกับดัชนีอ้างอิง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนก่อนหักค่าบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออกมาใกล้เคียงหรือเหมือนกับดัชนีอ้างอิงให้มากที่สุด
3.8 กองทุนรวม ETF: คล้ายกับกองทุนรวมดัชนี แต่หน่วยลงทุน ETF ซื้อขายบนตลาดหุ้น ไม่ผ่านบลจ.
3.9 กองทุนรวมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แบ่งออกเป็น
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF): ช่องทางลงทุนหรือออมเงินระยะยาวแบบสมัครใจเพื่อเตรียมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ โดยมีการให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเพื่อจูงใจให้ลงทุนระยะยาวและต่อเนื่อง
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF): กองทุนรวมเพื่อการออมระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2567
- แบ่งตามความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศ
4.1 กองทุนรวมที่ลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ: ลงทุนในทรัพย์สินต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศอย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมในรอบปี
4.2 กองทุนรวมที่ลงทุนแบบมีความเสี่ยงทั้งในประเทศ และต่างประเทศ: ลงทุนในทรัพย์สินต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5. แบ่งตามการจ่ายปันผล
5.1 จ่ายเงินปันผล: จ่ายปันผลตามระยะเวลาที่กำหนด
5.2 ไม่จ่ายเงินปันผล: ผู้ลงทุนขายหน่วยลงทุนเพื่อรับผลตอบแทน
5.3 ขายคืนอัตโนมัติ: จ่ายเงินคืนผ่านการขายหน่วยลงทุนคืนแบบอัตโนมัติ
ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม
- มืออาชีพดูแลและตัดสินใจลงทุนแทน
- บริหารจัดการกองทุนรวมอย่างเป็นระบบ
- ลดความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุน
- นโยบายการลงทุนหลากหลายให้เลือกลงทุน
- อำนวยความสะดวกในการลงทุน
- มีสภาพคล่องในการซื้อขายหน่วยลงทุน
- ได้รับประโยชน์ภาษี
- มีอำนาจในการต่อรอง
- มีกลไกปกป้องผู้ลงทุน
ข้อจำกัดของการลงทุนในกองทุนรวม
- ค่าธรรมเนียมต่อเนื่อง
- การลงทุนอาจจะไม่ยืดหยุ่น
- ข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ทันสมัย
บทที่ 2 ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุนรวม
ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวม แบ่งออกเป็น
- กำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหน่วยลงทุน
- ปันผล (เงินสดเท่านั้น)
ความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุนรวม ประกอบด้วย
- ความเสี่ยงจำเพาะตามประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน
- ความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุน
- ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของการลงทุน
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
- ความเสี่ยงจากการลงทุนต่อ
- ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
- ความเสี่ยงจากการบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุน
กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดคือกองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนเฉพาะในประเทศ (ระดับความเสี่ยง 1) ขณะที่กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือกมีความเสี่ยงสูงที่สุด (ระดับความเสี่ยง 8)
การประเมินความเสี่ยงของกองทุนรวมใช้
- ค่าสัมประสิทธิเบต้า: วัดความเสี่ยงที่มีอยู่ตลอดเวลาและไม่สามารถควบคุมได้ของกองทุนรวม
- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน: อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมจะแตกต่างจากอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมามากน้อยเพียงใด
- อัตราส่วนการกระจุกตัว: เงินส่วนใหญ่ถูกนำไปลงทุนในอะไรมากที่สุด
- Tracking Error: ค่าส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของกองทุนรวม และอัตราผลตอบแทนของดัชนีชี้วัดที่ใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงมาตรฐาน
การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
- การวัดผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเกณฑ์อ้างอิงมาตรฐาน แบ่งออกเป็น
- Absolute Basis: สร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
- Relative Basis: สร้างผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมกับอัตราผลตอบแทนของตลาดโดยรวม
- การวัดผลการดำเนินงานโดยเปรียบเทียบกับกองทุนรวมประเภทเดียวกัน
- การวัดผลการดำเนินงานโดยใช้มาตรวัดผลการดำเนินงาน
- Sharpe Ratio: ผลตอบแทนต่อ 1 หน่วยความเสี่ยง (คุ้มไหมที่จะลงทุน)
- Information Ratio: ความสามารถของกองทุนรวมในการสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าเกณฑ์อ้างอิงมาตรฐานที่ปรับด้วยความเสี่ยง
- Tracking Error
บทที่ 3 การวิเคราะห์และกลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวม
ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์การลงทุนในกองทุนรวมมีดังต่อไปนี้
- ปัจจัยส่วนบุคคล
- เป้าหมายการลงทุน: แบ่งออกเป็น
- เป้าหมายระยะสั้น: ไม่เกิน 3 ปี
- เป้าหมายระยะกลาง: 3 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี
- เป้าหมายระยะยาว: 7 ปีขึ้นไป
- วัตถุประสงค์การลงทุน
- ต้องการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุน
- ต้องการรายได้ประจำจากการลงทุน
- ต้องการปกป้องเงินลงทุน
- ต้องการผลตอบแทนรวม
- ช่วงอายุผู้ลงทุน
- วัยสะสม (20-40 ปี): รับความเสี่ยงได้สูง
- วัยมั่นคง (41-60 ปี): รับความเสี่ยงได้ปานกลาง
- วัยอุทิศ (60 ปีขึ้นไป): รับความเสี่ยงได้ต่ำ
- ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้: พิจารณา 2 ปัจจัยหลัก
- ความยินดีในการรับความเสี่ยง: ความกล้าได้กล้าเสียที่จะลงทุนมากน้อยแค่ไหน
- ความสามารถในการรับความเสี่ยง: ความพร้อมในการยอมรับการสูญเสียหรือผลขาดทุนที่เกิดจากการลงทุนที่ผิดพลาดได้มากน้อยแค่ไหน
หากค่าใดค่าหนึ่งข้างต้นต่ำกว่า ให้ถือว่าค่าที่ต่ำกว่าเป็นระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุน
- ข้อจำกัดในการลงทุนของผู้ลงทุน ประกอบด้วย
- สภาพคล่อง
- ระยะเวลาการลงทุน
- ข้อพิจารณาทางด้านภาษี
- กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
- ความต้องการพิเศษ
- ปัจจัยเกี่ยวกับกองทุนรวม
- นโยบายการลงทุน: กรอบการลงทุนของผู้จัดการกองทุน
- ผลการดำเนินงานของกองทุนรวม: พิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลังเพื่อดูความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- ความเสี่ยงของกองทุนรวม: กองทุนรวมแต่ละแบบมีความเสี่ยงแตกต่างกัน ซึ่งสามารถดูในหนังสือชี้ชวน
- ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม: ค่าธรรมเนียมยิ่งสูง ผลตอบแทนที่จะได้รับในระยะยาวจะยิ่งลดลง
- สไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุน
- Active Style กับ Passive Style
- Active Style: การลงทุนเชิงรุกที่ผู้จัดการกองทุนกำหนดการลงทุนเอง
- Passive Style: การลงทุนเชิงรับที่ผู้จัดการกองทุนต้องการให้ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมเป็นไปตามตลาด
- Active Style กับ Passive Style
- Value Style กับ Growth Style
- มูลค่าตลาด
- Value Style: การลงทุนเชิงรุกที่เน้นการลงทุนระยะยาวในทรัพย์สินที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีการเติบโตไม่สูงมากและมีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
- Growth Style: สไตล์การลงทุนเชิงรุกในสินทรัพย์ที่ออกโดยกิจการที่มีแนวโน้มการเติบโตทั้งยอดขาย และกำไรสุทธิสูงกว่ากิจการอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันโดยเฉลี่ย
- มูลค่าตลาด: จัดสรรเงินลงทุนโดยถ่วงน้ำหนักการลงทุนในมูลค่าตลาดโดยรวมของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการลงทุน: การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมการลงทุนส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งในด้านประเภททรัพย์สินที่ลงทุน ภูมิภาคหรือประเทศที่ลงทุน ประเภทอุตสาหกรรมที่ลงทุน ตลอดจนสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินแต่ละประเภท
แนวทางการวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม
- ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนรวม
- บลจ. และผู้จัดการกองทุน
- ระดับผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวม
- ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม
- สภาพคล่องในการซื้อขายของกองทุนรวม
- อายุและขนาดของกองทุนรวม
กลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวม ประกอบด้วย
- จับจังหวะการลงทุน: หาจังหวะเวลาที่เหมาะสมและดีที่สุดที่จะซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
- ถัวเฉลี่ยต้นทุน: ทยอยซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมสะสมอย่างสม่ำเสมอด้วยเงินจำนวนเท่ากันในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ทุกเดือน
- Value Averaging (VA): คล้ายคลึงกับถัวเฉลี่ยต้นทุน แตกต่างกันตรงที่จำนวนเงินลงทุนจะผันแปรตามมูลค่าของพอร์ตการลงทุนที่กำหนดในแต่ละงวด
- ผสมผสาน: ผสมผสานระหว่างกลยุทธ์จับจังหวะลงทุนกับถัวเฉลี่ยลงทุน
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวม: หนังสือชี้ชวน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
- ส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ: ข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบสาระสำคัญของกองทุนรวม
- ส่วนสรุปข้อมูลโครงการ: แจกแจงรายละเอียดทั้งหมดของกองทุนรวม
- ส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน: เตือนให้ทราบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน
บทที่ 4 การลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงและ/หรือมีความซับซ้อน
กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงและ/หรือมีความซับซ้อนมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเกินกว่า 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งได้แก่
- ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้หรือ
- ตราสารหนี้ไม่มีอันดับความน่าเชื่อ
- กองทุนรวมที่มีการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนผันแปรตามสูตรการคำนวณ ยากต่อการทำความเข้าใจหรือแบบซับซ้อน
- กองทุนรวมที่มีมูลค่าการลงทุนสุทธิในสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านการลงทุนในตราสาร หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์
- กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนที่ไม่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน ซึ่งเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
- กองทุนรวมที่มีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงแบบซับซ้อน
คุณสามารถสั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ [คลิ๊ก]
บทความนี้เป็นแค่สรุปหนังสือ หากคุณต้องการอ่านฉบับเต็ม คุณสามารถสั่งซื้อที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์