Source: https://poonawallafincorp.com/blogs/working-capital-cycle-definition-complete-overview.php
เงินทุนหมุนเวียน (Working capital) คือเงินทุนที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินกิจการในแต่ละวัน ประกอบด้วยสินค้าในคลัง (Inventory), ลูกหนี้การค้า (Accounts receivable), และเจ้าหนี้การค้า (Accounts payable) ซึ่งจะต่างกับเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net working capital) ที่เป็นการนำสินทรัพย์หมุนเวียนลบด้วยหนี้สินหมุนเวียน การที่มีเงินทุนหมุนเวียนน้อยเกินไปอาจทำให้สูญเสียรายได้เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ทันเวลา
บริษัทในอุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะต้องการปริมาณเงินทุนหมุนเวียนที่แตกต่างกัน เช่น อุตสาหกรรมบริการหรือพัฒนาซอฟต์แวร์อาจจำเป็นต้องมีสินค้าในคลังเป็นสัดส่วนน้อยกว่าธุรกิจซื้อขายรถยนต์หรือธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้า
กลยุทธ์ในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆคือ แบบอนุรักษ์นิยม (Conservative) และแบบมีความเสี่ยงสูง (Aggressive) โดยที่แบบอนุรักษ์นิยมจะมีสัดส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนต่อรายได้ที่สูงกว่าแบบมีความเสียงสูง ตามรูปด้านล่าง
Source: (Ahmad, 2017)
การเลือกระหว่างกลยุทธ์ทั้ง 2 แบบจะแลกมาด้วยการเสียกำไรเพิ่มเติม (สำหรับแบบอนุรักษ์นิยม) และความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจ (สำหรับแบบมีความเสี่ยงสูง) ซึ่งรูปแบบกลยุทธ์นี้ยังสามารถใช้กับการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนได้อีกด้วย การจัดหาสินทรัพย์หมุนเวียนโดยการออกหุ้นสามัญหรือหนี้สินระยะยาวจะมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการจัดหาเงินด้วยหนี้สินระยะสั้น เนื่องจากหนี้สินระยะสั้นมีความเสี่ยงที่บริษัทจะไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนใหม่ได้นั่นเอง
ในการเพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity) บริษัทสามารถทำได้จาก 2 แหล่ง ประกอบด้วย
– แหล่งสร้างสภาพคล่องแบบปฐมภูมิ (Primary sources of liquidity) คือการดำเนินงานปกติของบริษัทที่สร้างเงินทุนหมุนเวียน อีกทั้งการบริหารกระแสเงินสดไหลเข้าออกที่มีประสิทธิภาพก็ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้บริษัทได้เช่นกัน
– แหล่งสร้างสภาพคล่องแบบทุติยภูมิภูมิ (Secondary sources of liquidity) เป็นการขายสินทรัพย์ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรของบริษัททิ้งออกไปเพื่อเงินสด รวมถึงการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ และการจะดโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยวิธีแบบทุติยภูมินี้จะส่งผลให้การดำเนินงานในองค์กรเปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่การสร้างสภาพคล่องแบบปฐมภูมิมักจะไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัท
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง