Source: https://medium.com/phoenix-finance/a-deep-dive-into-leverages-in-defi-borrowing-margin-trading-leveraged-tokens-perpetuals-ed9019bd6833
Leverage ในบทความนี้เราจะหมายความถึงปริมาณค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed costs) ที่บริษัทมี แบ่งได้เป็นค่าใช้จ่ายคงที่จากการดำเนินงาน (Fixed operating expenses) ประกอบด้วย ค่าเช่าอาคารและอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายคงที่จากการจัดหาเงิน (Fixed financing costs) เช่น ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ ซึ่งการใช้ Leverage ในสัดส่วนที่สูงจะส่งผลให้กำไรจากการดำเนินการ (EBIT) มีความผันผวนมากขึ้น และทำให้กำไรสุทธิผันผวนตามมา
Source: https://www.wallstreetmojo.com/business-risk-vs-financial-risk/
รูปแบบความเสี่ยงแบ่งได้เป็น (1) ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business risk) เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกำไรจากการดำเนินงาน ซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ความเสี่ยงทางธุรกิจประกอบด้วย:
– ความเสี่ยงด้านรายได้ (Sales risk) เป็นความไม่แน่นอนของรายได้ที่บริษัทสามารถทำได้
– ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Operating risk) เป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมสำหรับกำไรจากการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากสัดส่วนของค่าใช้จ่ายคงที่ที่บริษัทมีอยู่
(2) ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial risk) เป็นความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นแบกรับเอาไว้จากการจัดหาเงินของบริษัทด้วยหนี้ ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ในรูปแบบดอกเบี้ยจ่าย (Interest expense) ซึ่งสัดส่วนของหนี้ที่สูงจะเพิ่มความเสี่ยงทางการเงินให้กับบริษัท
เราสามารถคำนวณเพื่อหาความเสี่ยงได้โดยใช้สูตร Degree of operating leverage (DOL) เพื่อหา Business risk และ Degree of financial leverage (DFL) เพื่อหา Financial risk มีรายละเอียดดังนี้:
โดยที่
- Q คือปริมาณสินค้าที่ขายออกไป
- P คือราคาขายต่อชิ้น
- V คือค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable cost) ต่อจำนวนชิ้นสินค้า
- F คือค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost) ของบริษัท
ถ้าหากบริษัทมี DOL เท่ากับ 2 หมายความว่าหากรายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้น 10% EBIT จะเพิ่มขึ้น 2 x 10% = 20%
ถ้าหากบริษัทมี DFL เท่ากับ 2 หมายความว่าหาก EBIT ของบริษัทเพิ่มขึ้น 10% กำไรต่อหุ้น (EPS) จะเพิ่มขึ้น 2 x 10% = 20%
ในเมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทต้องรับความเสี่ยงทั้ง Business และ Financial risk จึงต้องคำนวณความเสี่ยงรวมด้วย Degree of total leverage (DTL) มีสูตรคำนวณดังนี้:
ถ้าหากบริษัทมี DTL เท่ากับ 2 หมายความว่าหากรายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้น 10% กำไรต่อหุ้น (EPS) จะเพิ่มขึ้น 2 x 10% = 20% นั่นเอง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง