Source: https://www.wallstreetmojo.com/financial-system/

ระบบการเงินเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน, ตลาดเงิน, หรือตลาดหลักทรัพย์ ต่างเกิดมาเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้:

Source: https://www.wallstreetmojo.com/financial-system/

– เพื่อให้แต่ละบุคคลและนิติบุคคลสามารถฝากเงิน, กู้เงิน, ระดมทุน, บริหารความเสี่ยง, และแลกเปลี่ยนซื้อขายสินทรัพย์ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสินทรัพย์ในอนาคต (Futures)

– สามารถระบุอัตราผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ที่จะมากน้อยขึ้นอยู่กับสัดส่วนปริมาณที่ต้องการฝากเงินและความต้องการในการกู้เงิน

– เพื่อจัดสรรเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ชนิดของสินทรัพย์

สินทรัพย์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ประกอบด้วยสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial assets) และสินทรัพย์แท้จริง (Real assets)

Financial assets ประกอบด้วย:

  1. หุ้น (Equity) เป็นหลักทรัพย์ที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของบริษัทต่างๆ แบ่งได้เป็น หุ้นสามัญ (Common stock), หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stock), และใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)
  2. ตราสารหนี้ (Debt หรือ Fixed income securities) เป็นหลักทรัพย์ที่ออกมาสำหรับการขายให้กับผู้ปล่อยกู้เพื่อขอกู้เงิน แบ่งได้เป็นหุ้นกู้, พันธบัตรรัฐบาล, และตราสารพาณิชย์ (Commercial paper)
  3. อนุพันธ์ (Derivative contracts) เป็นการทำสัญญากันระหว่าง 2 ฝ่ายเพื่อให้เกิดธุรกรรมต่างๆในอนาคต เช่น การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กับเงินสด แบ่งได้เป็น Futures, Forwarchs, Options, Swaps, และสัญญาประกันภัย
  4. เงินตรา (Currencies) ถูกผลิตโดยธนาคารกลางของรัฐบาลแต่ละประเทศ เป็นเงินสกุลต่างๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ, บาทไทย, หรือยูโร

Real assets คือสินทรัพย์ที่มีตัวตนต่างๆ ประกอบด้วยอสังหาริมทรัพย์ (Real estate), อุปกรณ์และเครื่องจักร (Equipment and machinery) ซึ่งมักจะใช้สำหรับกระบวนการผลิต ส่วน Real assets อีกชนิดคือสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เป็นสินทรัพย์ที่สามารถซื้อขายทั้งในตลาดราคาปัจจุบัน (Spot), Forward, และ Futures โดยหลักทรัพย์ 2 ชนิดหลังสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารความเสี่ยงได้ ตัวอย่างเช่น หากเจ้าของฟาร์มข้าวโพดคาดการณ์ว่าราคาข้าวโพดจะปรับตัวลง เจ้าของฟาร์มสามารถขาย Short ข้าวโพดเอาไว้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ไม่เสียกำไรมากเท่ากับการปลูกข้าวโพดขายอย่างเดียว

ตัวกลางทางการเงิน

ตัวกลางทางการเงิน (Financial intermediaries) เป็นบุคคลที่อยู่ตรงกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์, เงินทุน, และความเสี่ยง ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ หลักๆแบ่งตัวกลางทางการเงินได้ดังนี้:

  1. Brokers มีหน้าที่ช่วยลูกค้าในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยการหาอีกฝ่ายที่ต้องการทำธุรกรรมร่วมกัน
  2. Securitizers นำตราสารหนี้ต่างๆมารวมกันแล้วออกเป็นหลักทรัพย์ชนิดใหม่ โดยมีการแบ่งเป็น Tranches เพื่อแยกระดับความเสี่ยงต่างๆออกจากกัน
  3. Depository institutions ประกอบด้วยธนาคาร และ Credit unions มีหน้าที่รับฝากเงินโดยจ่ายผลตอบแทนให้ในรูปดอกเบี้ย และนำเงินฝากไปปล่อยกู้เพื่อเก็บดอกเบี้ยจากผู้ขอกู้อีกต่อหนึ่ง
  4. Insurance companies บริษัทประกันมีหน้าที่เก็บเบี้ยประกันจากลูกค้าเพื่อแลกกับการลดความเสี่ยงในสิ่งที่ประกันคุ้มครอง
  5. Clearing house มีหน้าที่โอนเงินและสินทรัพย์ไปยังผู้ซื้อขายแต่ละฝ่าย และรับประกันความเรียบร้อยของการดำเนินการตามสัญญา จึงเรียกได้ว่าเป็นตัวกลางที่มาช่วยลดความเสี่ยงระหว่างฝ่ายต่างๆให้ทำตามข้อผูกมัดให้สมบูรณ์
  6. Custodians มีหน้าที่จัดเก็บหลักทรัพย์ให้กับลูกค้า และป้องกันจากการฉ้อโกงต่างๆที่มีผลกระทบต่อ Brokers หรือผู้จัดการการลงทุน

บทความที่เกี่ยวข้อง