กองทุนรวม 101

กองทุนรวม 101

ผู้เขียน : ธนัฐ ศิริวรางกูร

สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

หนังสือกองทุนรวมเล่มนี้จัดว่าเป็นผลงานที่ครบเครื่องเรื่องกองทุนรวมให้กับผู้อ่านมือใหม่ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการลงทุนมาก่อน ไปจนกระทั่งมือเก๋าที่เคยลงทุนในกองทุนรวมมาแล้วหลายปี ได้อัพเดทข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยเชื่อมั่นว่าเมื่อท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ ท่านจะขายข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับกองทุนรวม และมีความมั่นใจในการลงทุนมากยิ่งขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้

บทที่ 1 เตรียมพร้อมก่อนลงทุนกับกองทุนรวม

ผมเชื่อว่ามีคนอยู่อีกจำนวนมากไม่รู้ว่าตนเองกำลังซื้อกองทุนอะไร หรือซื้ออะไรจากธนาคารที่คุณได้ฝากเงินไว้ ผมไม่ได้บอกว่าพนักงานธนาคารไม่ดี เพราะพนักงานธนาคารพยายามที่จะเสนอสินค้าที่ดีให้กับผู้ฝากเงินอยู่แล้ว เพียงแต่ข้อจำกัดคือพนักงานธนาคารมีโอกาสได้พูดคุยกับลูกค้าน้อย จึงไม่ทันได้อธิบายความเสี่ยงของการลงทุน ดังนั้นเราควรต้องมีความรู้พื้นฐานในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อช่วยให้การเลือกสินค้าทางการเงินที่พนักงานธนาคารได้เสนอมานั้นได้ประโยชน์เต็มที่ไม่เสียเงินและเสียเวลา เราควรได้รับข้อมูลที่มากพอก่อนการตัดสินใจอะไรลงไป รับรองได้ว่าถ้าได้อ่านหนังสือเล่มนี้คุณจะมีข้อมูลมากพอที่จะสามารถเลือกกองทุนต่างๆได้ด้วยตนเองอย่างแน่นอน

เงินเฟ้อ ยายตัวร้ายกับนายเงินเดือน

เงินเฟ้อกับเงินเดือนหรือรายรับของเรานั้นเป็นคู่หูกันมานาน เงินเฟ้อจะทำให้มูลค่าของเงินที่เราถือลดลง ไม่ได้หมายความว่าตัวเลขบนธนบัตรของคุณจะเปลี่ยนแปลงลดลง เพียงแต่ว่าจะเงินเฟ้อนี่แหละที่จะทำให้เราซื้อของได้น้อยลง

อัตราเงินเดือนของเรากลับไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนักบางปีเงินเดือนขึ้นไม่กี่เปอร์เซ็นต์หรือบ้างคนก็ไม่ได้รับการปรับเงินเดือนคืนเลยเสียด้วยซ้ำ คราวนี้มาดูกันคำนวณมูลค่าเงินอัตราเงินเฟ้อแบบง่ายๆ ซึ่งก็จะเหมือนกับการคิดอัตราดอกเบี้ยทบต้นของธนาคาร เพียงแต่จะเป็นการคำนวณในทางกลับกัน คือเราเสียมูลค่าเงินไปแทน แน่นอนว่าบางปีอัตราเงินเฟ้ออาจจะไม่เพิ่มสูงมากนัก แต่เงินของคุณนั้นมูลค่าจะลดลงทุกวินาทีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามคุณอย่าเพิ่งกลัวเงินเฟ้อไปเสียก่อนเพราะความจริงแล้วมีวิธีการจัดการกับจางเงินเฟ้อแน่นอน โดยผ่านวิธีการออมและการลงทุนเพื่อรักษามูลค่าของเงินและอำนาจการซื้อของคุณให้เหมือนเดิม และถ้าเราสามารถหากองทุนรวมที่ทำผลตอบแทนได้ดีมันก็จะสามารถทำให้มูลค่าของเงินในอนาคตเพิ่มขึ้นได้มากกว่าเดิมด้วย

ออมอย่างเดียวไม่พอต้องลงทุนเพิ่มด้วย

การลงทุนแตกต่างจากการออมค่อนข้างมากถึงแม้ว่าจะมีส่วนคล้ายกันอยู่ก็ตาม จุดประสงค์ของการออกการลงทุนนั้นจะทำให้เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แต่สิ่งที่ต่างกันคือการลงทุนจะเน้นไปที่เรื่องของการแสวงหาผลตอบแทนที่ดีมากขึ้นกว่าการเก็บเงินออม เป็นการทำให้เงินออมที่ออมอยู่เงยขึ้นมามากกว่าเดิมโดยไม่ต้องพึ่งการทำงานหรือการหามาเพิ่ม และข้อได้เปรียบของการลงทุนก็คือการใช้เวลาในการถึงเป้าหมายน้อยกว่าการออม ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราได้ผลตอบแทนที่มากขึ้นจากการลงทุนเราก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินออมนั้นมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน

ความจริงแล้วการลงทุนนั้นไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นกองทุนเพียงอย่างเดียว จะเพลินว่าด้วยข้อได้เปรียบและข้อดีของกองทุนนั้นทำให้พนักงานบริษัท เจ้าของกิจการ หรือแม้แต่นิสิตนักศึกษาสามารถลงทุนได้มากกว่าเท่านั้นเอง

เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

ผมเป็นคนนึงที่ไม่ค่อยวางแผนในชีวิตสักเท่าไหร่ถึงแม้จะเคยพยายามมาหลายครั้งแต่บางครั้งก็ยังพังพลาดเป้าหมายที่วางไว้อยู่ดี แต่ทุกครั้งที่พลาดไปผมก็มากลับมาทบทวนดูว่าเราพลาดเรื่องอะไรจึงไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้ แล้วผมได้ข้อสรุปดังนี้

  1. เป้าหมายที่วางไว้ไม่ชัดเจน หากคุณไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนมันจะทำให้การวัดผลของการลงทุนอยากตาม

ไปด้วย เนื่องจากเมื่อได้ลงทุนลงไปแล้วได้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนักลงทุนที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนก็จะเริ่มมองหาการลงทุนวิถีใหม่แบบที่ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ต่างกับคนที่มีเป้าหมายชัดเจนที่จะมีความรู้และความเข้าใจ สิ่งที่ตนเองลงทุนอยู่นั้นจะสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ และเมื่อถึงเวลาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก็จะทำอย่างมีระบบแบบแผนมากกว่า

แต่สำหรับใครที่ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการออมอาจจะเป็นเพียงเพื่อซื้อสิ่งของหรือแค่สร้างความสุขในการลงทุนหรือสร้างความมั่งคั่งในรูปแบบของตนเองก็ไม่ต้องคิดมาก เพียงแค่ลองเปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายในรูปแบบของผลตอบแทนก็ได้คุณจะเห็นภาพที่ชัดเจนแล้วสนุกไปกับการลงทุน

  1. ลำดับความสำคัญไม่ได้ ก่อนจะพูดถึงการเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมายเรามาทำความรู้จักกั

อัตราดอกเบี้ยทบต้นกันก่อน ดอกเบี้ยทบต้นคือการนำดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากเงินมาลงทุนต่อเนื่อง หรือทุกข์กลับไปที่เงินต้นอีกรอบทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยปัจจัยที่จะทำให้ผลของการมีดอกเบี้ยทบต้นนั้นได้ประสิทธิภาพสูงสุด คือเวลาและอัตราดอกเบี้ย

จะเห็นได้ว่าการเก็บเงินก้อนโตไม่จำเป็นจะต้องมีเงินเก็บที่มากมายก่อนแล้วจึงลงทุนเราสามารถเริ่มทยอยสะสมได้ แต่สำคัญที่สุดคือเข้าใจว่าเป้าหมายที่เรากำลังจะลงทุนนั้นอะไรสำคัญมากคือสำคัญน้อย เป็นเป้าหมายที่รอได้รอไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้กำหนดความเสี่ยง และลำดับของการทำเป้าหมายให้สำเร็จนั่นเอง แล้วควรเลือกเป้าหมายที่สำคัญจริงๆขึ้นมาไว้เป็นอันดับแรกในการวางแผนทางการเงิน เพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ ดั่งที่หวังไว้

บทที่ 2 รู้จักรู้จริง อะไรคือกองทุนรวม

กองทุนคืออะไรและทำไมต้องกองทุนรวม

ถ้าหากคุณกำลังประสบปัญหา เช่น อยากลงทุนแต่ไม่มีเวลา ไม่มีประสบการณ์ในการลงทุน มีเวลาแต่ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ มีเงินเก็บสะสมน้อยแต่อยากลงทุน ผมขอแนะนำให้คุณรู้จักกับกองทุนรวมครับ

กองทุนรวมคือการนำเงินของนักลงทุนรายย่อยมากองรวมกันแล้วนำเงินเหล่านั้นไปลงทุนในสินทรัพย์หรือตราสารหนี้ต่างๆเมื่อเกิดผลกำไรสะสมหรือขาดทุน ก็จะมาแจ้งให้กับผู้ลงทุนทุกรายทราบและหากมีการขายกองทุนก็จะเฉลี่ยจ่ายคืนตามอัตราส่วนให้กับผู้ลงทุน และกองทุนเหล่านี้ยังซื้อขายได้บ่อยอีกด้วยแต่ต้องระวังเพราะหากซื้อขายบ่อยเกินไปก็อาจจะเสียค่าธรรมเนียมมากขึ้น

ข้อดีของการซื้อกองทุนรวม คือมีการกระจายความเสี่ยงไปอยู่ในตัวอยู่แล้ว โดยแต่ละกองทุนจะลงทุนในทรัพย์สินที่มีความแตกต่างกันออกไป ทำให้เวลามีทรัพย์สินบางอย่างไม่ให้ผลตอบแทนตามที่คาดหวังก็จะไม่กระทบต่อผลตอบแทนร่วมมากนัก นอกจากนี้กองทุนยังมีข้อดีอีกข้อก็คือเรามีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแลจัดสรรเงินเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆให้แต่ข้อดีนี้ก็แอบมีข้อเสียซ่อนอยู่ด้วยเพราะหากผู้จัดการกองทุนดำเนินงานผิดพลาดแล้วล่ะก็ ผลประกอบการของกองทุนอาจจะออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

ซื้อกองทุนรวมได้ที่ไหน

แต่ก่อนจะไปทราบวิธีการซื้อกองทุนแบบง่ายๆและสะดวกสบายผมขออธิบายถึงตลาดกองทุนรวมปัจจุบันก่อนว่าใครเป็นใครในตลาดกองทุนรวมและแต่ละฝ่ายมีหน้าที่อะไรมีความน่าสนใจและบริการอะไรกันบ้าง

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. อยากให้ทุกท่านหลับตาแล้วนึกภาพว่าบลจ. นั้นมีหน้าที่ตั้งกองทุนออกมาให้กับผู้ลงทุนได้ลงทุนกันเปรียบเสมือนกับโรงงานผลิตกองทุนออกมาขาย ซึ่งข้อดีก็คือจะเน้นการลงทุนที่มีสไตล์เฉพาะตัวทำให้มีกองทุนที่น่าสนใจและมีคุณภาพดี บลจ. เล็กๆที่ไม่คุ้นหูยังมีอยู่อีกมากแต่ทั้งนี้การขายสินค้าหรือกองทุนหากขายหน้าโรงงานเพียงอย่างเดียวก็จะค่อนข้างยุ่งมากในการซื้อ คนก็จะรู้จักหน่อย เมื่อมีความยุ่งยากในการซื้อแบบนี้ ทาง บลจ. ก็จะขายกองทุนผ่านตัวแทนขายต่างๆ และหนึ่งในนั้นคือธนาคาร

ธนาคาร การซื้อกองทุนรวมธนาคารใกล้บ้านหรือที่ทำงานนั้นวิธีการเปิดบัญชีจะสะดวกมากเพราะแค่เราเดินเข้าไปธนาคารก็สามารถซื้อกองทุนได้ทันทีแถมไม่เสียเวลาในการเดินทาง แต่ข้อเสียคือมักมีกองทุนให้เลือกไม่มากส่วนใหญ่จะขายเฉพาะกองทุนที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในเครือธนาคารนั้นๆ แต่ความยุ่งยากบางประการก็ยังไม่หายไป ผู้ซื้อก็ยังคงต้องเซ็นเอกสารหลายฉบับอยู่ดี

บริษัทหลักทรัพย์ หรือ บล. บริษัทหลักทรัพย์นั้นนอกจากเป็นตัวแทนขายหุ้นแล้วก็ยังเป็นตัวแทนในการซื้อขายกองทุนด้วย ประหนึ่งเป็นร้านขายของที่ขายทุกอย่างในด้านการเงินและการลงทุน โดยการซื้อกองทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์เหล่านี้จะมีความง่ายยากต่างกันตามระบบของบริษัทหลักทรัพย์ว่าใช้ระบบในการเปิดบัญชีแบบไหน

บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน หรือ บลน. เป็นนายหน้าการซื้อขายสินค้าทางการเงินเพียงแต่จะขายเฉพาะกองทุนรวมเพลงเดียวเท่านั้น ส่วนใหญ่ที่ถูกจัดตั้งมาจากคนที่มีประสบการณ์ในตลาดหลักทรัพย์และหลักทรัพย์จัดการกองทุนมาก่อนทั้งสิ้น แต่มีความต้องการจะขายกองทุนรวมในแบบที่แตกต่างออกไป และมีแนวคิดหลักการลงทุนที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ อีกทั้งยังมีความรู้ในด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างดี

คราวนี้ในการเปิดบัญชีจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท

  1. บัญชีแบบ Selling Agent Account

บัญชีซื้อขายหน่วยลงทุนแบบเปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน โดยสามารถซื้อขายกองทุนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ แต่ดั้งเดิมนั้นมีข้อเสียคือเราต้องเปิดบัญชีซื้อขายโดยตรงกับแตละ บลจ. ที่สำคัญคือการติดตามดูแลผลการลงทุนและสับเปลี่ยนกองทุนเป็นไปได้ยาก เพราะว่าบัญชีกองทุนอยู่แยกกันในแต่ละ บลจ.

  1. บัญชีแบบ Omnibus Account

บัญชีซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งถือเป็นช่องทางที่สะดวกที่สุด กล่าวคือเราสามารถหยิบกองทุนหลายๆกองทุนมาใส่ตะกร้าใบเดียวกันได้เลย เวลาจ่ายเงินก็ไม่ต้องแยกตะกร้าด้วย โดยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตะกร้าให้เราคือ บล. นั่นเอง และข้อสำคัญก็คือเราสามารถติดตามผลการลงทุนของกองทุนทั้งหมดได้พร้อมๆกัน และสามารถโยกย้ายสับเปลี่ยนกองทุนได้ง่ายกว่า แต่ข้อเสียคือไม่สามารถซื้อขายกองทุนรวมเพื่อการออมและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้ เพราะมีเรื่องของการเปิดเผยชื่อและการนำไปลดหย่อนภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง

 ดังนั้นใครที่ต้องการซื้อกองทุนแบบง่ายๆ ขอสรุปสั้นๆดังนี้

ให้เปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อหน่วยลงทุนที่มีบริการแบบ Fund Supermart  เพื่อที่จะง่ายต่อการเปิดบัญชีคือเปิดครั้งเดียวซื้อกองทุนได้ทุก บลจ. จะเป็นแบบเปิดเผยชื่อหรือไม่เปิดเผยชื่อก็ได้ แต่หากเป็นบัญชีซื้อขายหน่วยลงทุนแบบเปิดเผยชื่อที่ร่วมคำสั่งกองทุนหลายบลจ. ได้ รวมเงินจ่ายทีเดียวได้ ไม่ต้องโอนไปหลายๆทีจะดีมาก เนื่องจากซื้อกองทุนได้ทั้งแบบธรรมดาและกองทุนลดหย่อนภาษี

 กองทุนรวมมีกี่ประเภท

ก่อนที่จะรู้จักกองทุนประเภทต่างๆเรามาทำความเข้าใจเรื่องกองทุนเปิดกองทุนปิดกั้นก่อนครับ เพราะรูปแบบการลงทุนแบบนี้จะมีผลต่อการเลือกกองทุน และสภาพคล่องของเงินในกระเป๋าด้วย

 กองทุนเปิด เป็นกองทุนรวมชนิดที่สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ภายหลังจากที่มีการเปิดกองทุนมาแล้ว โดยกองทุนเปิดจะกำหนดระยะเวลาซื้อขายหน่วยลงทุนก็ได้หรือเปิดให้ซื้อหน่วยลงทุนได้ตลอดเวลา เนื่องจากกองทุนแบบนี้มีความคล่องตัวมีสภาพคล่องที่ดีในระดับหนึ่ง ดังนั้นกองทุนรวมส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักเป็นในรูปแบบกองทุนเปิด

 กองทุนปิด นักลงทุนไม่สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้หลังจากมีการเปิดกองทุนมาแล้ว แต่จะมีการกำหนดอายุของกองทุนอย่างชัดเจนแน่นอน สิ่งสำคัญในการเลือกกองทุนประเภทนี้คือสภาพคล่องของผู้ลงทุน อย่างไรก็ดีข้อดีของกองทุนประเภทนี้คือสินทรัพย์บางอย่าง ที่มีความเสี่ยงสูงจะถูกลดทอนความเสี่ยงลงนั่นเอง และผู้จัดการกองทุนจะจัดการบริหารกองทุนได้ง่าย

 ประเภทของกองทุนรวมตามนโยบายการลงทุน

ขั้นต่อไปเรามารู้จักกับกองทุนที่แบงค์เป็นรูปแบบการลงทุนตามมาตรฐานของ ก.ล.ต. กันครับ

  1. กองทุนรวมตลาดเงิน

คือกองทุนที่ไปซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินในระยะสั้นที่มีสภาพคล่องขายเงินสดหรือ

ใกล้เคียง โดยจะลงทุนในเงินฝากและสถานสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี โดยกองทุนตลาดเงินเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในประเภทของกองทุน และมีประโยชน์ค่อนข้างเยอะโดยเฉพาะสำหรับบ้างคนที่เป็นนักลงทุนในหุ้นหรือชอบซื้อกองทุนหุ้นแต่ถ้าช่วงไหนที่ตลาดหุ้นปรับตัวมากขึ้นจนผิดสังเกต นักลงทุนทั้งหลายก็จะนำเงินออกจากตลาดหุ้นหรือกองทุนหุ้นแล้วมาหลบพักเงินไว้ในกองทุนตลาดเงิน กองทุนตลาดเงินถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจมากแม้ผลตอบแทนจะไม่มากแต่ก็ช่วยให้เรามีเงิน และเงินนั้นก็ไม่ลดมูลค่าลงไปตามเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

  1. กองทุนรวมตราสารหนี้

รู้หรือไม่ว่าการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ มีประโยชน์มากมายมหาศาลเลยทีเดียว  บริษัทต่างๆที่ดำเนินธุรกิจอยู่อาจใช้วิธีการกู้เงินจากนักลงทุนโดย  ออกตราสารรับรองความเป็นเจ้าของที่ออกโดยบริษัทที่มาขอกู้ว่า ตราสารหนี้ ในทางกลับกันถ้ากูเป็นรัฐบาลเราจะเรียกว่า พันธบัตรรัฐบาล

ดอกเบี้ยจะมากหรือจะน้อยขึ้นอยู่กับความเสี่ยงว่าเราจะได้รับเงินคืนหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันก็มีการกำหนดอัตราเครดิตเพื่อแยกแยะว่าตราสารหนี้ตัวในลงทุนได้หรือมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้เงินคืน โดยเครดิตสูงสุดคือ AAA ซึ่งตราสารหนี้ที่สามารถลงทุนได้โดยความเสี่ยงไม่สูงจนเกินไปควรมีอันดับเครดิตอยู่ที่ BBB

โดยกำไรขาดทุนของตราสารหนี้เกิดจากการปรับลดเงินหรือเพิ่มความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่เราถือ ถ้าตราสารหนี้ได้ปรับเพิ่มความน่าเชื่อถือขึ้นแน่นอนว่ามูลค่าของตราสารหนี้จะมีเพิ่มมากขึ้น ส่วนสำคัญอีกประการนึงที่มีผลกระทบต่อราคาของตราสารหนี้ ก็คือความต้องการตราสารหนี้ของนักลงทุน หรือของผู้เล่นที่อยู่ในตลาดตราสารหนี้ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าบางสภาวะมีเงินไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้มากๆ ก็จะพบว่าราคาของตราสารหนี้ที่อยู่ในตลาดปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

หลังจากรู้จักตราสารหนี้แล้วมาต่อกันที่กองทุนรวมตราสารหนี้ซึ่งก็คือกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ประเภทต่างๆ แต่กองทุนแบบนี้จะมีความผันผวนมากกว่าตราสารหนี้ธรรมดา เนื่องจากว่าตราสารหนี้ธรรมดาไม่มีความเสี่ยงเรื่องดอกเบี้ยหรือกำไรที่ได้หากถือจนครบอายุ แต่กองทุนรวมตราสารหนี้นั้นอาจจะขาดทุนได้

แต่ความเสี่ยงก็ไม่ได้มากอย่างที่คิดถ้าหากถือกองทุนตราสารหนี้ได้นานพอ ความเสี่ยงด้านการผันผวนของราคาในแต่ละวันก็จะค่อยๆลดลง ดังนั้นกองทุนรวมตราสารหนี้ส่วนใหญ่จะไม่ผันผวนเท่ากับกองทุนหุ้นแน่นอน จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อย นอกจากนี้กองทุนรวมตราสารหนี้ยังสามารถไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศได้ ซึ่งจุดที่ต้องสังเกตเพิ่มก็คือกองทุนนั้นมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยหรือไม่

  1. กองทุนรวมผสม

กองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆได้ทุกประเภท แต่จะต้องมีอัตราส่วนการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ และไม่เกิน 65 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนประเภทนี้เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง เพราะมีการกระจายความเสี่ยงไปยังตราสารหนี้และเงินฝากด้วย

  1. กองทุนรวมผสมยืดหยุ่น

กองทุนรวมส่วนผสมยืดหยุ่นเป็นกองทุนรวมที่มีลักษณะกับกองทุนรวมผสม แต่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุนในหุ้นนั่นเอง กองทุนรวมประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อย จนไปถึงระดับความเสี่ยงสูง ข้อดีของกองทุนรวมผสมยืดหยุ่นก็คือเราสามารถปรับสัดส่วนและได้รับผลตอบแทนแม้ว่าตลาดหุ้นจะอยู่ในช่วงขาลงก็ตาม ข้อเสียก็คือเราจะวัดผลของกองทุนได้ค่อนข้างยากเนื่องจากมีการปรับสัดส่วนอยู่ตลอดเวลา

  1. กองทุนรวมหน่วยลงทุน

กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่ไปลงทุนในกองทุนรวมอีกที โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม การลงทุนแบบนี้จะให้ความสะดวกมากถ้าเป็นการลงทุนแบบกองทุนต่างประเทศ และข้อดีอีกอย่างของกองทุนรวมหน่วยลงทุน ก็คือสามารถกระจายความเสี่ยงไปในหลายกองทุนได้ แต่ข้อเสียคืออาจมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่ซ้ำซ้อนซึ่งความเสี่ยงก็จะมีหลายระดับ

  1. กองทุนรวมตราสารทุน

กองทุนรวมตราสารทุนหรือเรียกอีกชื่อนึงก็คือกองทุนหุ้นนั่นเอง คือขายหุ้นของบริษัทเพื่อหาเงินมาขยับขยายกิจการข้อดีคือไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแต่เจ้าของกิจการต้องสูญเสียความเป็นเจ้าของบางส่วน ถ้าบริษัททำกำไรได้ดีก็จะมีการจ่ายเงินปันผลทำให้ราคาหุ้นแต่ละคนถือมีมูลค่ามากขึ้น เพราะว่าหุ้นมีแนวโน้มที่ดีเมื่อขายหุ้นก็จะได้ราคาสูงขึ้น ดังนั้นกองทุนหุ้นจึงเป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในหุ้นแต่ละตัว

  1. กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ

กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจเป็นกองทุนรวมที่ไปลงทุนในหุ้นที่มีการดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งการลงทุนในกองทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ อาจมีความผันผวนสูงแต่ก็มีโอกาสในการเติบโตได้ในระยะยาวโดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีที่มีโอกาสมาทดแทนการทำธุรกิจในแบบเดิม ดังนั้นนักลงทุนเองก็ควรที่จะกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนกับกองทุนรวมธุรกิจหรือกองทุนรวมโหมดอุตสาหกรรมนี้ให้รัดกุมมากขึ้น ถ้าทำได้ก็จะมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดี

 เลือกกองทุนประเภทไหนดี

กองทุนมีตั้งมากมายแล้วตกลงเราควรจะลงทุนในกองทุนแบบไหนดีล่ะโดยกองทุนแบบความเสี่ยงต่ำมีด้วยกันสองประเภท คือกองทุนรวมตลาดเงินเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยงและลงทุนระยะสั้น กองทุนรวมตราสารหนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยถึงปานกลาง

แบบความเสี่ยงกลาง คือกองทุนรวมผสม ที่เป็นการผสมระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุนหรือหุ้น และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง  แบบความเสี่ยงสูง คือกองทุนรวมตราสารทุน และกองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ เหมาะกับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง

ดังนั้นความสำคัญของการรู้จักประเภทกองทุนคือทำให้เราทราบสัดส่วนที่เราควรจะลงทุนในกองทุนต่างๆ อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามความเสี่ยงที่มากขึ้น ส่วนคนที่รับความเสี่ยงมากไม่ได้ก็สามารถปรับสัดส่วนให้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ให้มากกว่าที่ทำได้ กองทุนประเภทต่างๆนี้ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการกองทุนที่มีสไตล์หรือรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยการบริหารที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับแต่ละปัจจัย แต่ละแล้วจะแบ่งเป็น

  1. Active Fund กองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนทำทุกอย่างเพื่อให้ผลตอบแทนชนะค่ามาตรฐาน หรือพยายามที่จะทำผลกำไรให้มากที่สุดโดยเลือกสินทรัพย์และสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม ส่วนกลยุทธ์การลงทุนก็จะมีด้วยกันสองวิธีหลัก
  • Top down คือการวิเคราะห์การลงทุนโดยพิจารณาจากภาคพื้นฐานเศรษฐกิจโดยรวมก่อน แล้วจริงดูสภาพหรือสภาวะของภาคอุตสาหกรรมของหุ้นที่น่าสนใจ ขั้นตอนสุดท้ายจึงดูพื้นฐานของหุ้นหรือทรัพย์สินต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่
  • Bottom up คือการวิเคราะห์การลงทุนหรือเริ่มจากการวิเคราะห์ว่าตัวหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เราจะลงทุนและมีคุณภาพหรือไม่ แล้วค่อยมาดูสภาพแวดล้อมในอุตสาหกรรมนั้น แล้วสุดท้ายจึงรู้ว่าหุ้นที่ลงทุนจะมีมูลค่าที่เหมาะสมหรือไม่
  1. Passive Fund การลงทุนที่เน้นลงทุนให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง การอ้างอิงคือการที่กองทุนพยายามทำตัวเลียนแบบดัชนีตลาดนั่นเอง เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เทียบเคียงกับผลตอบแทนดัชนีต่างๆ ดังนั้นการลงทุนแบบนี้เราจะไม่มีทางที่จะได้กำไรมากกว่าดัชนีของตลาด แล้วทำไมต้องลงทุนตามดัชนีตลาดด้วย นั่นก็เพราะว่างานวิจัยต่างประเทศระบุว่าในระยะยาวแล้วไม่มีใครสามารถเอาชนะตลาดได้ และกองทุนรูปแบบนี้บางทีก็สามารถทำผลตอบแทนได้ดีทีเดียวบางครั้งผลตอบแทนที่ได้อาจจะมากกว่ากองทุน Active เสียอีก ข้อดีข้อคือการลงทุนแบบนี้มีค่าธรรมเนียมถูกมากเนื่องจากผู้จัดการกองทุนไม่ต้องเสียเวลาในการดูแลกองทุนมาก

รู้จักความเสี่ยงในการลงทุน

คราวนี้มาเรียนรู้เรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนและความเสี่ยง จะสังเกตได้ว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นนั้นสูงกว่าของพันธบัตรและเงินฝากอย่างมาก ถ้าคุณฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ธนาคารธรรมดามูลค่าของเงินอาจจะลดลงได้ ส่วนตราสารหนี้ก็ทำให้ได้แค่พยุงไม่ให้เงินเฟ้อมาทำให้มูลค่าของเงินที่ถูกอยู่ลดลง ส่วนการลงทุนในหุ้นจะช่วยให้เงินของเราได้เติบโตมากขึ้นแต่ค่อนข้างมีความผันผวน จุดสังเกตได้อีกอย่างว่าในสภาวะที่ตลาดหุ้นไม่ดีแต่ตราสารหนี้กับทำกำไรได้มากกว่าในภาวะปกติจนบางครั้งก็ได้กำไรมากกว่าหุ้นเสียอีก

ผมขอแนะนำอย่างนี้ว่าให้คุณผสมสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝากให้เหมาะสม เพราะการทำส่วนผสมแบบนี้จะทำให้ความเสี่ยงลดลงในขณะที่ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและสามารถบรรลุเป้าหมายที่เราวางไว้ได้

 รู้ใจตนเองก่อนลงทุน

ต้องขอบอกว่าหลายคนมักไม่ค่อยรู้ว่าความเสี่ยงนั้นเป็นอย่างไรฉะนั้นเพื่อให้ง่ายในการจินตนาการถึงความเสี่ยงผมมีวิธีการประเมินตนเองแบบง่ายๆก่อนที่จะเลือกซื้อกองทุนกัน

 ขั้นตอนที่หนึ่ง ให้หลับตาแล้วคิดว่าหากคุณมีเงินเก็บอยู่หนึ่งล้านบาท จากการทำงานอันแสนเหน็ดเหนื่อย

 ขั้นตอนที่สอง ลองจินตนาการว่าหากนำเงินนั้นไปลงทุนอะไรสักอย่างแล้วขาดทุน เหลือเงินอยู่แค่แปดแสนบาทจะรู้สึกยังไง

ขั้นตอนที่สาม ถ้าทนขั้นที่สองไม่ได้แล้วขาดทุนได้เท่าไหร่ หรือว่ารับการขาดทุนไม่ได้เลย

ขั้นตอนที่สี่ หากได้ตัวเลขขาดทุนไว้ในใจแล้ว สามารถค้นหาความเสี่ยงของคุณได้ตามตาราง จากอินเทอร์เน็ต

และโดยคุณก็สามารถกำหนดอัตราส่วนที่จะลงทุนในกองทุนได้ด้วยตนเองแบบไม่ง่าย การลงทุนเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามช่วงอายุเพศ และความจำเป็นในการใช้เงิน

บทที่ 3 อะไรบ้างที่คุณต้องรู้จักถ้ารักจะลงทุนในกองทุนรวม

NAV และค่าธรรมเนียม

NAV =  มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุน

เพื่ออธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือหลังจากสิ้นสุดวันลงทุน กองทุนจะมาประเมินมูลค่าและหาราคาสิ้นวัน ทั้งนี้การคำนวณราคา NAV จะขึ้นอยู่กับว่าเป็นกองทุนเปิดหรือกองทุนปิด เพราะว่าส่วนใหญ่กองทุนเปิดจะมีการคิดราคากันทุกวัน ดังนั้นราคา NAV คือราคาซื้อขายกันของกองทุน ถ้ามีการปรับขึ้นก็แสดงว่ากองทุนนั้นกำลังมีสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้น แต่เรื่องราคา NAV จะถูกจะแพงนั้นไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นกองทุนที่ดีหรือไม่ เราจึงไม่ค่อยเปรียบเทียบราคากันแต่จะดูแนวโน้มการเติบโตของ NAV มากกว่า พอจะสรุปได้ว่าหากกล้องรุ่นมีแนวโน้มดังต่อไปนี้จะมีผลทำให้แนวโน้มของ NAV เพิ่มขึ้นหรือเติบโตขึ้นได้ก็คือ

  1. ราคาสินทรัพย์เติบโตได้ในระยะยาว
  2. ฝีมือการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุน
  3. ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายกองทุนที่ไม่แพงจนเกินไป

ข้อสังเกตที่นักลงทุนต้องระวังก็คือ แม้อาจจะเห็นว่ามีบางกองทุน ที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นแล้วก็ลดลง แล้วก็สูงขึ้นอีกเป็นรอบๆไป นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้จัดการกองทุนบริหารไม่ดี เพียงแต่กองทุนมีการจ่ายเงินแบบปันผลออกมาเท่านั้นเอง ที่เราต้องทราบว่า NAV คืออะไรก็เพราะว่าราคานี้จะเป็นราคาซื้อขายของกองทุนด้วยนั่นเอง โดยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นราคาสองส่วน

ราคาเสนอขาย คือราคาที่กองทุนจะเสนอขายหน่วยลงทุนให้กับผู้ลงทุน เราต้องซื้อราคานี้

 ราคาเสนอซื้อ คือราคาที่กองทุนจะซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุน เราต้องขายราคานี้

คราวนี้มาดูค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องจ่ายเวลาซื้อกองทุนรวมกัน โดยเเบ่งออกเป็นสองส่วน

  1. ค่าธรรมเนียมที่หักโดยตรงจะพูดถือหน่วยลงทุน คือส่วนที่ต้องชำระให้แก่ ตัวกลาง ผู้ลงทุนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆเหมือนการซื้อขายหุ้นที่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น รวมถึงเวลาสับเปลี่ยนกองทุนอีกด้วย
  2. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน โดยส่วนใหญ่ให้ดูที่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ได้เก็บจากกองทุน แต่เวลาเราลงทุนไปแล้วมักไม่เห็นค่าใช่จ่ายส่วนนี้มากนักเพราะค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเรียกเก็บหลังจากที่เราเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว

ค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้จะมากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของกองทุนรวม หากเป็นกองทุนประเภทที่บริหารง่ายเช่นกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ ก็จะเก็บค่าใช้จ่ายต่ำ ในทางกลับกันกองทุนไหนที่มีการบริหารจัดการที่ซับซ้อน ก็จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงตามไป

เมื่อเป็นแบบนี้คุณต้องเสียเวลาเล็กน้อยในการพิจารณาการลงทุนของแต่ละกองทุนให้เหมาะสม เพื่อจะได้กองทุนที่ดีทำผลตอบแทนที่คุณพอใจ และมีค่าธรรมเนียมที่ไม่แพงเท่าไหร่มีค่าธรรมเนียมที่แพงแต่กองทุนสามารถทำผลกำไรได้ดี ดังนั้นเราควรดูแลและเลือกไม่ทำที่ดีในการเป็นหัวหอกเพื่อทำกำไรให้กับเรา

Fund Fact Sheet ตำราพิชัยสงครามของนักลงทุน

เอกสารสำคัญ ที่จะให้ข้อมูลกับนักลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อกองทุนรวม มีด้วยกันอยู่สี่อย่าง

  1. หนังสือชี้ชวนฉบับเต็ม
  2. รายงานประจำปีหรือรายงานประจำครึ่งปี
  3. หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน Fund Fact Sheet
  4. เอกสารอื่นๆ

Fund Fact Sheet เปรียบเสมือนคู่มือของนักลงทุนที่ต้องอ่านกันอย่างจริงจังก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนรวม และเป็นสิ่งแรกที่ควรอ่าน แม้ในเนื้อหาหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มจะบรรจุทุกอย่างที่เป็นรายละเอียดของกองทุนทั้งหมด แต่ดูเหมือนว่านักลงทุนหลายคนไม่ได้ให้ความสนใจ บางครั้งเมื่อเราอ่านหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มแล้วอาจจะทราบถึงความคิดของผู้จัดการกองทุนสินทรัพย์ที่ลงทุนก็เป็นได้ บางครั้งก็สามารถที่จะเลือกวิเคราะห์กองทุนดีๆได้ในระดับนึงแล้ว ถึงแม้หนังสือชี้ชวนฉบับเต็มจะช่วยให้เราเข้าใจถึงกองทุนได้มากขึ้น แต่ก็เข้าใจได้ว่าหลายคนคงไม่มีเวลามาศึกษาข้อมูลมากมาย ดังนั้นการอ่านค่ Fund Fact Sheet ก็จะได้รับรายละเอียดในสิ่งที่จำเป็นประมาณหนึ่งแล้ว

บทที่ 4 วิธีเลือกกองทุนรวมด้วยตนเอง แนวคิดที่คุณรู้ และคำถามที่ถูกถามบ่อย

วิธีเลือกกองทุนรวมด้วยตนเอง (2S 2R 2F)

ผมจะมาสรุปให้คุณดูว่าวิธีเลือกกองทุนด้วยตนเองนั้นเราควรทำอย่างไรบ้างโดยเริ่มจากขั้นตอนดังนี้

  1. ต้องรู้ประเภทกองทุนและความเสี่ยงของกองทุนประเภทนั้นก่อนที่เราจะเข้าไปลงทุน กองทุนที่เราพบเห็นอยู่เป็นประจำมีอยู่ไม่กี่ประเภท กองทุนแต่ละแบบมีความเสี่ยงไม่เหมือนกันเลย ความเสี่ยงน้อยผลตอบแทนน้อยความเสี่ยงมากผลตอบแทนอาจจะได้มาก
  2. ต้องกระจายความเสี่ยงและจัดการสัดส่วนการลงทุนในแต่ละกองทุนให้เหมาะสม โดยการจัดสวนการลงทุนควรจะต้องทำอย่างละเอียดให้ตรงกับเป้าหมายความเสี่ยงที่เรารับได้
  3. อย่าตัดสินใจจากผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว คุณเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอมากกว่าผลตอบแทนสูง โดยการเลือกกองทุนที่เหมาะสมนั้นจะใช้หลักการ (2S 2R 2F)

R1 : Return  ผลตอบแทนย้อนหลัง

แน่นอนว่าผลตอบแทนย้อนหลังไม่ได้บอกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยกองทุนที่เคยทำผลตอบแทนได้ดีนั้นก็จะมีโอกาสที่จะทำผลตอบแทนได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในการเลือกกองทุนหุ้นนั้นหากเราจะเลือกกองทุนที่ผลตอบแทนดีที่สุด ก็มีโอกาสสูงมากที่ จะมีแนวโน้มว่ากองทุนเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องในระยะยาวดังนั้นเวลาเลือกที่กองทุนก็ต้องเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแบบสม่ำเสมอตลอดช่วงการลงทุนนั่นเอง

R2 : Risk ความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่ผมจะพูดถึงคือความเสี่ยงของกองทุนที่มีความผันผวนทั้งทางขึ้นและทางลง แต่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงในทางลงมากกว่า เนื่องจากการถือครองกองทุนที่ผันผวนมากๆจะทำให้คนที่จิตใจไม่แข็งแรงหรืออ่อนไหวอาจจะขายกองทุนทิ้งไปก่อน ซึ่งผลสุดท้ายกองทุนที่เราเลือกจะกลับมาทำผลตอบแทนที่ดีก็เป็นได้

S1 : Style  การลงทุน

การลงทุนของกองทุนและสไตล์การเลือกสินทรัพย์ของผู้จัดการกองทุนก็คือ จุดที่น่าสนใจที่จะช่วยให้เป็นตัวบอกพวกกองทุนนี้บริหารจัดการแบบไหน นอกจากดูอัตราการเปลี่ยนทรัพย์สินแล้วการตรวจดูรายละเอียดว่ากองทุนไปลงทุนกับอะไรก็สำคัญเพราะทำให้เราเห็นว่ากองทุนที่เรากำลังจะลงทุนนั้นได้ถือครองหุ้นหรือสินทรัพย์ชนิดไหน บางครั้งการที่เราทราบว่ากองทุนถือครองอะไรก็จะเป็นตัวบอกผลตอบแทนในอนาคตได้บางส่วน

S2 : Selective แนวทางการเลือกสินทรัพย์

จะเลือกกองทุนถือครองสินทรัพย์แบบไหนก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เนื่องจากว่าสินทรัพย์แต่ละอย่างมีความเสี่ยงไม่เท่ากันอย่างน้อยๆเราเองก็ควรที่จะรู้ว่าสินทรัพย์ต่างๆที่อยู่ในกองทุนนั้นมีอะไรบ้าง ปัจจุบันแนวทางการเลือกสินทรัพย์ของผู้จัดการกองทุนมีอยู่หลายแนวทาง วิธีที่จะตรวจสอบได้คือการอ่านหนังสือชี้ชวนซึ่งจะมีข้อมูลเขาข้าวให้กับเรา สุดท้ายแล้วกองทุนเองก็ต้องทำผลตอบแทนในเชิงประจักษ์ให้เราเห็นว่าสิ่งที่พูดมานั้นสามารถสร้างผลตอบแทนได้จริงๆในระยะยาว

F1 : Fund Manager  ผู้จัดการกองทุน

หนังสือชี้ชวนฉบับเต็มจะมีรายชื่อของผู้จัดการกองทุนรวมถึงประวัติการศึกษา ประสบการณ์ เราสามารถนำมาสอบถามหรือตรวจสอบได้ว่าผู้จัดการกองทุนที่บริหารกองทุน อยู่ในปัจจุบันนั้นเคยบริหารกองทุนที่ไหนมาบ้าง และกองทุนที่เคยบริหารนั้นทำผลตอบแทนได้ดีหรือไม่ ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าถ้าผู้จัดการกองทุนที่เราเลือกไปลงทุนด้วยมีการเปลี่ยนที่ทำงานเกิดขึ้น อาจจะมีผลทำให้กองทุนของเรามีผลตอบแทนที่ผิดเพี้ยนไปจากตอนแรกก็เป็นได้

F2 : Fee ค่าธรรมเนียม

โดยปกติแล้วกองทุนรวมจะมีค่าใช้จ่ายหลักอยู่สองส่วน ที่ค่อนข้างสำคัญที่ผมได้อธิบายไปแล้ว คือค่าธรรมเนียมตอนที่ซื้อหรือขาย ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ค่าธรรมเนียมตอนซื้อหรือขายแต่อย่างใด แต่ส่วนสำคัญก็คือค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนมากกว่า เพราะบางกองทุนมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่แพงแต่ไม่สามารถทำผลตอบแทนได้ตามที่คาดการณ์ไว้ นั่นก็หมายถึงว่าเราได้ขาดทุนทางอ้อมนั่นเอง

บทที่ 5 กองทุนลดหย่อนภาษีไม่มีวันตาย และเรื่องภาษีกับกองทุนรวมที่ควรรู้

หลังจากที่รู้จักกองทุนประเภทต่างๆไปกันหมดแล้วหนี้เราจะมาลงลึกถึงกองทุนเพื่อการออม (Super Savings Fund SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) ที่นำมาอธิบายภายหลังก็เนื่องจากว่าเข้าใจกองทุนประเภทต่างๆแล้วการที่เราจะเข้าใจกองทุน SSF และ RMF นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะกองทุนทั้งสองกองนี้มีลักษณะที่เหมือนกันกับกองทุนทั่วไป แต่จะมีในเรื่องของการลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

SSF และ RMF  เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิผู้ลงทุนนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาลดหย่อนภาษีได้ ในส่วนของกองทุน RMF มีจุดประสงค์หลักคือให้คนมีเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณเนื่องจากสวัสดิการที่ภาครัฐบังคับให้ประชาชนเก็บเงินนั้นมีอยู่ไม่มาก ดังนั้นจึงเป็นคำตอบที่จะช่วยคุณเก็บเงินไว้ใช้สอยเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตนเองในวัยเกษียณ ส่วนกองทุน SSF ถือว่าเป็นเครื่องมือในการลงทุนและบริหารจัดการภาษีที่ดี ซึ่งคิดว่าก็น่าจะเหมาะกับใครหลายหลายคน

Super Savings Fund : SSF

ก่อนอื่นเลยเรามาดูเงื่อนไขว่ามีอะไรกันบ้างที่เราควรรู้เพื่อที่เราไปซื้อแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างถูกต้อง

  1. นำมาใช้สิทธิ์เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยสามารถซื้อกองทุนรวม SSF ได้สูงสุดไม่เกินสามสิบเปอร์เซ็นต์ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปีและต้องไม่เกินสองแสนบาท
  2. ซื้อลงทุนในปีไหนจะได้ลดหย่อนภาษีในปีนั้นทันทีและนำหลักฐานทางการซื้อมาลดหย่อนได้เลย
  3. ต้องถือครองกองทุนดังกล่าวเป็นเวลาสิบปีนับตั้งแต่การซื้อห้ามขายก่อนเด็ดขาด
  4. กำไรที่ได้จากการขายคืนไม่ต้องเสียภาษีหากถือครองครบกำหนดตามกฎหมาย
  5. กองทุน SSF มีความเสี่ยงหลายระดับให้เลือกลงทุน
  6. สามารถปรับเปลี่ยนกองทุนได้ตลอดเวลา โดยการสับเปลี่ยนกองทุนไม่ถือว่าเป็นการขายและซื้อใหม่ ทำให้การสับเปลี่ยนไม่ผิดเงื่อนไขในการถือครองแต่อย่างใด

Retirement Mutual Fund : RMF

กองทุนรวม RMF เป็นกองทุนที่มีระยะเวลาการลงทุนค่อนข้างยาวนานจนถึงเกษียณ อย่างไรก็ตามกองทุนรวมประเภทนี้สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ตลอดเวลา เพื่อทำให้เราสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับอายุของผู้ถือกองทุนได้ โดยเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิ่งที่ควรรู้มีดังนี้

  1. นำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยสามารถซื้อกองทุนรวม RMF ได้ไม่เกินสามสิบเปอร์เซ็นต์ของเงินได้ในแต่ละปีแต่ต้องไม่เกินห้าแสนบาท
  2. โดยวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนสำหรับการเกษียณและเป็นการสร้างวินัย จึงต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยซื้อลงทุนกับกองทุนรวมไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง โดยไม่จำกัดขั้นต่ำในการลงทุน
  3. กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนแล้วจะมีกำไรจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ถ้าถือครบกำหนดตามเงื่อนไขที่บอกไว้
  4. ไม่มีการจ่ายเงินปันผลและไม่สามารถ นำกองทุนไปจำนำได้ หรือนำไปเป็นประกันในการทำธุรกรรมใดๆได้เลย

โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่ากองทุนรวมเหล่านี้จะมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อ ผู้ลงทุนได้ศึกษาข้อมูลการลงทุนอย่างจริงจังและไม่เอาเรื่องการลดหย่อนภาษีที่ถูกนำมามาล่อตาล่อใจ เป็นเหตุผลหลักในการซื้อกองทุน เพราะว่าการลงทุนที่นึกถึงแต่การลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จทางการเงินได้ ที่สำคัญคือเราต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจเรื่องการลงทุน จึงทำให้บรรลุเป้าหมายในการลงทุนและการเกษียณอายุได้อย่างสบายใจ

แต่ผมบอกว่ากองทุนลดหย่อนภาษีจะช่วยให้คนไทยรู้จักเรื่องการออมและการลงทุนมากขึ้น และวางแผนเกษียณได้อย่างไม่เป็นภาระคนรุ่นหลัง

บทที่ 6 เทคนิคการซื้อกองทุนรวมให้ได้ประโยชน์และไม่เครียด

มาถึงบทนี้ผมมีเทคนิคดีๆในการลงทุนกับการลงทุนในกองทุนรวมที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเวลาในการจับจังหวะการลงทุน เพื่อจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้และที่สำคัญวิธีการเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีโอกาสได้กำไรจากการลงทุนในกองทุนรวมด้วย อย่างไรก็ตามเทคนิคการลงทุนนั้นมีมากมายหลายแบบแต่มีสามเทคนิคที่ผมคิดว่าเหมาะกับนักลงทุนมือใหม่และคนเริ่มลงทุนมาสักระยะหนึ่งแล้ว

  1. ลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ครั้งเดียว

คือการลงทุน จะเงินลงทุนก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งไว้ระยะยาวโดยไม่สนใจอะไร ปล่อยให้แต่ละกองทุนที่เราเลือกมาทำหน้าที่อย่างเต็มที่

  1. ลงทุนด้วยวิธีเฉลี่ยต้นทุน DCA

เป็นวิธีการลงทุนอย่างสม่ำเสมอที่ทำกันได้ง่ายๆโดยผู้ลงทุนแบ่งเงินลงทุนเป็นจำนวนเท่ากันและลงทุนตามระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องสนใจว่าตลาดขนาดนั้นเป็นขาขึ้นหรือขาลงไม่สนใจว่ากองทุนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุนเป็นเท่าไหร่ ข้อดีของการลงทุนวิธีการนี้คือลดความผิดพลาดของการจับจังหวะในการลงทุน แต่กฎสำคัญก็คือกองทุนที่เราไปลงทุนต้องมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นด้วย

  1. ลงทุนด้วยวิธีควบคุมมูลค่าสุทธิให้เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ VA

เป็นเทคนิคที่คล้ายคลึงกับวิธีที่สองแต่แทนที่จะกำหนดเงินเข้าหรือเงินที่จะซื้อกองทุน เปลี่ยนเป็นกำหนดเงินมูลค่าสินทรัพย์ของพอร์ตมากกว่า ข้อดีของวิธีนี้คือไม่ต้องไปจับจังหวะการลงทุนและเป็นการเก็บกำไรไว้โดยปริยายเวลาที่กองทุนทำผลตอบแทนได้ดี ส่วนเวลาที่ตลาดเป็นขาลงก็จะทำการซื้อกองทุนเข้ามาเป็นการเฉลี่ยให้ราคาถูกลงด้วย

หลายคนอาจจะสงสัยว่าพี่ไหนดีที่สุดจากการศึกษาและแบบจำลองหลายแห่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลจากต่างประเทศซึ่งการทดลองในไทยอาจมีความแตกต่างกันไป โดยวิธีที่ได้ผลที่สุดก็คือการซื้อกองทุนด้วยการลงทุนเงินก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียว วิธีที่ได้ผลรองลงมาก็คือลงทุนด้วยวิธีควบคู่กับกลุ่มมูลค่าสุทธิให้เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ และวิธีสุดท้ายจึงเป็นการลงทุนด้วยวิธีถั่วเฉลี่ยต้นทุน

แต่ทั้งนี้วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดเหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเงินก่อนรวมถึงไม่มีเวลาในการดูแลพอร์ตลงทุนของตนเองเลย ก็คือวิธีการลงทุนด้วยการถั่วเฉลี่ยต้นทุนนั่นเอง แต่ผู้ลงทุนต้องมีวินัยในการลงทุนจึงจะพบกับความสำเร็จ

 ติดตามผลการลงทุน

เราไม่จำเป็นต้องติดตามดูพอร์ตการลงทุนทุกวันเดือนละครั้งหรือสามเดือนครั้งก็ได้ หรือช่วงไหนที่คิดว่ามีเหตุการณ์ไม่ปกติก็สามารถตรวจเช็คได้ง่ายโดยปกติการลงทุนในกองทุนเราจะแบ่งผลตอบแทนได้เป็นสามแบบ

  1. กำไรจากการขายหน่วยลงทุน

ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหากนักลงทุนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนนักลงทุนต้องตัดสินใจขายกองทุนจึงจะได้รับกำไร

  1. เงินปันผล

เมื่อกองทุนมีกำไรสะสมจึงมีการจ่ายเงินปันผลออกมาให้ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่มักมีข้อแม้หรือข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป บางครั้งเห็นกองทุนของตนเองขาดทุนอยู่ก็มักจะโทษว่ากองทุนบริหารไม่ดี แต่อย่าลืมว่าก่อนหน้านี้กองทุนได้ปันผลออกมาให้กับเราไปแล้ว ต้องบวกผลตอบแทนจากเงินปันผลกันด้วย

  1. ขายคืนอัตโนมัติ

โดยการปั่นหน่วยที่ว่านี้ เมื่อราคาของหน่วยลงทุนไปถึงเป้าหมายจะทำการปั่นหน่วยออกมาเหมือนกับการปันผล ทั้งนี้ผลตอบแทนจากการลงทุนแบบนี้ไม่ต้องเสียภาษีเพราะจะไม่ถือว่าเป็นเงินปันผล และที่สำคัญก็คือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุนจะไม่ลดลงด้วย ทำให้ราคานั้นไม่แกว่งขึ้นแกว่งลงเหมือนกับการปันผลถึงแม้ว่าจำนวนหน่วยลงทุนที่เราถือครองจะลดลงแต่จำนวนเงินในการลงทุนในกองเท่าเดิม

สุดท้ายเราควรจะจับตาดูแลพอร์ตลงทุนหรือสัดส่วนทรัพย์สินในการลงทุนของเราให้ดีว่าผลตอบแทนนั้นได้ผิดเพี้ยนไปจากเป้าหมายที่เราตั้งไว้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าเห็นผลตอบแทนดีในปีนี้ก็เลยไม่สนใจซึ่งอาจจะทำให้พอร์ตลงทุนของเราเพิ่มความเสี่ยงขึ้นโดยไม่รู้ตัว การปรับพอร์ตลงทุนมีหลักการง่ายมากแค่ใช้วิธีที่เรียกว่าการซื้อของถูกเขาและขายของแพงของ นั่นหมายความว่าสินทรัพย์ในกองทุนไหนที่ราคาสูงขึ้นก็ให้ขายออกหรือสินทรัพย์ในของกองทุนที่ราคาลดลงต่ำก็ให้ซื้อเพิ่มเพื่อคงสภาพสัดส่วนไว้เท่าเดิม การปรับพอร์ตที่ดีควรทำอยู่ทุกหกเดือนหรือทุกหนึ่งปีก็ได้ แต่มีข้อระวังในการปรับพอร์ตลงทุน ก็คือระวังค่าธรรมเนียม และอย่าลืมว่าการปรับพอร์ตเพื่อให้ความเสี่ยงของเราลดลง แต่ไม่ใช่เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้สูงสุด