เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี
ผู้เขียน : ลงทุนแมน
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
ความรุ่งเรืองและความร่วงโรย ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประวัติศาสตร์มนุษย์ ราวกับวงจรประหลาดที่มักจะวนกลับมาจุดเริ่มต้นเสมอ เรื่องราวที่น่าสนใจตลอดช่วงเวลาดังกล่าวหลอมรวมให้เกิดเป็นหนังสือเล่มนี้ เพื่อสรุปให้เราได้เข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นบ้างใน 1,000 ปีที่ผ่านมา
สั่งซื้อหนังสือ “เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก
ตอนที่ 1 ยุคกลาง
หลังจากจักรวรรดิโรมันที่เป็นดังแสงสว่างแห่งปัญญาร่วมสลาย ยุโรปทั้งทวีปก็เข้าสู่ยุคสมัยแห่งความมืดมิด นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่ายุคมืดหรือยุคกลาง ดินแดงขนาดใหญ่ถูกแบ่งเป็นแคว้นน้อย มีการปกครองที่เรียกว่า ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ กษัตริย์มอบหมายที่ดินให้แก่เหล่าขุนนางที่ไว้ใจนำไปดูแล เมื่อขุนนางได้รับที่ดินก็มีการสร้างปราสาทขึ้นบนที่ดินของตัวเอง ชาวนามากมายซึ่งไม่มีที่ดินทำกินก็มาอาศัยที่ดินของขุนนางเพื่อทำเกษตร โดยจะมีการแบ่งผลผลิตให้แก่คุณน้ำตามแต่จะตกลง
ระบบเศรษฐกิจในยุคกลางจึงเป็นแบบพึ่งพาตนเอง อาศัยผลผลิตจากภายในอาณาเขตของตัวเอง ชาวนาที่มาอาศัยอยู่ก็ไม่ได้มีเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน จึงมีการซื้อขายสินค้าแลกเปลี่ยนกันระหว่างปราสาทอื่นน้อยมาก
เมื่อผู้คนหมดหวังในชีวิตและมีศรัทธาในศาสนาเป็นที่พึ่งสุดท้าย จึงถูกหว่านล้อมให้เข้าสู่สงครามศาสนาที่รุนแรงและยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ สงครามนี้เรียกว่า สงครามครูเสด เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวยุโรปผู้นับถือศาสนาคริสต์กับชาวอาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลาม สาเหตุประการหนึ่งก็เพื่อขับไล่ชาวมุสลิมให้ออกไปจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์ ชื่อเยรูซาเลม สงครามนี้ยืดเยื้อยาวนานเป็นเวลากว่าสองร้อยปี ยอดผู้เสียชีวิตเจ็ดล้านคน แม้ผลของสงครามจะจบลงด้วยชาวคริสต์ในยุโรปไม่สามารถรักษากรุงเยรูซาเล็มไว้ได้ แต่สงครามครูเสดก็ทำให้ชาวยุโรปได้เดินทางไปพบเห็นโลกของชาวอาหรับ ซึ่งในเวลานั้นมีความก้าวหน้ามากกว่าทั้งในด้านคณิตศาสตร์ดาราศาสตร์รวมไปถึงการค้า โดยมีจุดเปลี่ยนสำคัญไม่ว่าจะเป็น เลขอาราบิก การขยายตัวของการค้า มหาวิทยาลัย ธนาคาร
ทุกอย่างดูเหมือนจะดีแต่หารู้ไม่ว่าการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันออกจะนำโรคภัยไหลแรงเข้ามาสู่ยุโรป โรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนในยุโรป โลกนี้ถูกเรียกว่า กาฬโรค
ตอนที่ 2 Black Death
ถ้าถามว่าอะไรมีอานุภาพทำลายล้างมนุษย์ให้หายไปได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ คำตอบไม่ใช่สงครามโลกแต่คือเหตุการณ์ ของโลกที่มีชื่อว่า Black Death แต่ก่อนจะเปิดฉาก สู่ยุคสมัยแห่งนี้ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ในสมัยนั้นภาษาอังกฤษ ไม่ได้เป็นภาษาหลักแม้แต่คนยังคิดเองภาษาอังกฤษยังคงถูกใช้เพียงแค่สำหรับชาวบ้านเท่านั้น ส่วนกษัตริย์และชนชั้นสูงกลับใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสาร ในเวลานั้น ขุนนางซึ่งอยู่ในดินแดนฝรั่งเศสนามว่า ดยุกวิลเลียม ได้บุกพิชิตดินแดนอังกฤษและราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษ พระนามว่าเจ้าวิลเลียมที่หนึ่ง
ด้วยความที่กษัตริย์มีเชื้อสายฝรั่งเศสส่งผลให้เชื้อพระวงศ์และชนชั้นปกครองพูดแต่ภาษาฝรั่งเศส และเมื่อบัลลัง ก์ของกษัตริย์ฝรั่งเศสว่างลง ทำให้กษัตริย์อังกฤษในขณะนั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่สาม ได้อ้างสิทธิในการครอบครองฝรั่งเศส จนกลายเป็นชนวนความบาดหมางของอังกฤษและฝรั่งเศสที่บานปลายจนกลายเป็น สงครามที่ยาวนาน ในชื่อว่าสงครามร้อยปี ในขณะที่กองทัพฝรั่งเศสส่อแววจะพ่ายแพ้สงครามครั้งนี้ต้องหยุดชะงักลง เพราะมียมทูตรายใหม่ที่ทำลายล้างชีวิตผู้คนทั้งสองฝ่ายได้มากกว่า ที่มีชื่อว่า กาฬโรค
โรคระบาดร้ายแรงนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนตัวหมัดซึ่งอยู่บนตัวหนูอีกที ซึ่งแพร่ระบาดมาจากจีนผ่านตามเส้นทางสายไหมและลุกลามมาถึงยุโรป ในไม่ช้าก็ลุกลามไปทั่วเมืองศูนย์กลางอย่างอิตาลี และโลกนี้เองก็ระบาดในดินแดงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โลกจะต้องเผชิญกับโรคระบาดนี้อีกหลายครั้ง จนกว่าจะมีการค้นพบหนทางรักษา ในอีกราวห้าร้อยปีต่อมา
และเพื่อชดเชยการขาดเหรียญทองแดง นำมาสู่การประกาศใช้สิ่งที่มีมูลค่าแทนเงินอย่างเป็นทางการ ของ ประเทศจีน สิ่งนั้นก็คือธนบัตร นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการประกาศใช้เงินกระดาษอย่างกว้างขวาง ส่วนในยุโรปธนบัตรอาจต้องใช้เวลาพัฒนาอีกหลายร้อยปี เพราะในช่วงเวลานั้นยุโรปกำลังวางรากฐานการเงินโดยเฉพาะระบบธนาคาร
ตอนที่ 3 เรอเนซองซ์
ถ้าถามว่าสินค้านำเข้าที่มีค่ามากที่สุดเมื่อห้าร้อยปีที่แล้วสำหรับชาวยุโรปคืออะไร ไม่ใช่กระดาษ ไม่ใช่ผ้าไหม ไม่ใช่เครื่องแก้ว แต่คือเครื่องเทศ ไม่ใช่ว่าชาวยุโรปจะชอบอาหารจัด แต่พอคุณสมบัติของเครื่องเทศในการถนอมอาหาร ในยุคสมัยที่ยังไม่มีตู้เย็น เครื่องเทศหลายชนิดมีประสิทธิภาพยับยั้งการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าบูด และมีกลิ่นหอมจะช่วยกลบกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์
ในสมัยนั้นการขนส่งเครื่องเทศจากโลกตะวันออกเข้าสู่ยุโรปต้องผ่านเมืองคอนสแตนติโนเบิล หรือในปัจจุบันเรียกว่าเมืองอิสตันบูลประเทศตุรกี แต่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปเมื่อกรุงคอนสแตนติโนเบิลถูกยึดโดยชาวออตโตมันเติร์ก ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและเปลี่ยนชื่อเป็นจักรวรรดิออตโตมัน
บุคคลต่างๆทั้ง นักปราชญ์ นักกวีผู้รวบรวมงานเขียนจำนวนมาก ต่างหอบหิ้วองค์ความรู้มาทำงานเป็นอาจารย์และนักแปลในนครรัฐต่างๆบนคาบสมุทรอิตาลี การฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการของชาวกรีซโรมัน ย้อนกลับมาอีกครั้ง จึงเหมือนเป็นการเกิดใหม่ ยุคนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นยุคแห่งการเกิดใหม่หรือยุคเรอเนซองส์
ในเวลานั้นตระกูลเมดิซี นายธนาคารผู้มั่งคั่งจากนครรัฐฟลอเรนซ์ ได้อุปถัมภ์ศิลปินเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ทำให้ตระกูลพ่อค้าอื่นๆก็ต่างกันพาอุปถัมภ์ศิลปินเช่นกัน จนนำมาสู่ความก้าวหน้าทางศิลปะ สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์ มีการสร้างฐานพิมพ์ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำให้ความรู้ได้ถูกแพร่กระจายและตีพิมพ์อย่างรวดเร็ว หนังสือและเอกสารทางวิชาการถูกตีพิมพ์อย่างแพร่หลาย ประชาชนได้เรียนรู้และคิดค้นผลงานวิชาการมากมาย
ในสมัยนั้นโลกยังถูกสำรวจไม่หมด แผนที่จะมีเส้นขอบเป็นปริศนาอยู่ องค์ความรู้ที่แพร่หลายในขณะนั้นเป็นของนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อทอเลมี กล่าวว่าโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมหาสมุทรอยู่ล้อมรอบ ในเวลานั้นมหาสมุทรแอตแลนติก ถูกเรียกว่าทะเลแห่งความมืด เนื่องจากมีอากาศหนาวและเต็มไปด้วยลมพายุพัดรุนแรง การจะออกเดินทางสู่มหาสมุทรแห่งนี้ต้องมีผู้สนับสนุนที่มีพร้อมทั้งกำลังพลและฐานที่มั่น ความได้เปรียบจึงตกไปอยู่ประเทศในยุโรปที่มีฐานความเป็นรัฐชาติและมีอาณาเขตติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ตอนที่ 4 อินเดียคนละทวีป
ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดมาบนโลกนี้มนุษย์ไม่เคยรู้มาก่อนว่า โลกทั้งหมดมีหน้าตาอย่างไร บางคนบอกว่าโลกแบน บางคนบอกว่าโลกกลม มีแผ่นดินเดียว แต่มีหลายมหาสมุทรล้อมรอบอยู่ นี่เป็นครั้งแรกที่มนุษย์จะค้นพบว่าขอบฟ้าบนโลกนี้มันมีที่สิ้นสุดตรงไหน สเปนซึ่งพัฒนาช้ากว่าโปรตุเกสในเรื่องการเดินเรือ หากจะเดินเรือไปทางใต้ของทวีปแอฟริกาก็เท่ากับตามหลังโปรตุเกส ในเวลานั้นมีนักเดินเรือหนุ่มชาวอิตาลีคนหนึ่ง มาเสนอแผนการเดินทางใหม่ไปยังทวีปเอเชียแด่กษัตริย์สเปน แทนที่จะเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาแล้วหาทิศตะวันออกอย่างที่เคยเป็นมา ใช่คนนี้เสนอให้เดินทางไปทางทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ชายคนนี้มีนามว่า คริสโตเฟอร์โคลัมบัส
ภายใต้การนำของคริสโตเฟอร์ ผู้แทนของสเปนได้เดินเรือฟันฝ่าข้ามมหาสมุทรไปทางทิศตะวันตกจนค้นพบดินแดนแห่งใหม่ ที่น่าสนใจคือก่อนที่โคลัมบัสเสียชีวิตเค้ายังปักใจเชื่อว่าดินแดนที่ค้นพบคือประเทศอินเดีย แต่แท้จริงแล้วดินแดนแห่งนี้กลายเป็นทวีปใหม่ที่ไม่เคยมีชาวยุโรปคนใดรู้จักมาก่อน
นับตั้งแต่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายโลกตะวันออกมีความก้าวหน้าแซงโลกตะวันตก มาเป็นเวลานับพันปี แต่ความสำเร็จในการค้นพบเส้นทางไปอินเดียที่อยู่คนละทวีปของทั้งสเปนและโปรตุเกส กลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่จะเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของโลกทั้งสองฝั่งให้ก้าวเดินคนละทาง
ตอนที่ 5 สนธิสัญญาแบ่งโลก
หลังจากคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้แทนของสเปนได้ค้นพบเส้นทางไปอินเดียจากมหาสมุทรแอตแลนติก สิ่งที่โคลัมบัสนำกลับยุโรปไปด้วย มีทั้งสับปะรด ยาสูบ และมะเขือเทศ แม้จะเป็นครั้งแรกที่ชาวยุโรปได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้แต่ก็สร้างความสงสัยอยู่ไม่น้อย ว่าทำไมไม่มีเครื่องเทศ จนมีนักเดินเรือชาวอิตาลีค้นพบว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่กั้นระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชีย นอกจากพื้นน้ำมันกว้างใหญ่ของมหาสมุทรแอตแลนติกแล้ว ยังมีพื้นแผ่นดินขนาดใหญ่เป็นทวีปไม้ที่กั้นอยู่อีกด้วย จึงมีการตั้งชื่อทวีปใหม่นี้ว่า อเมริกา
ในขณะที่ชาวโปรตุเกสค้นพบดินแดนทางตะวันออกของทวีปอเมริกาตอนใต้และใช้เป็นสถานที่ปลูกอ้อยซึ่งปัจจุบันคือประเทศบราซิล โดยประสิทธิภาพของอาวุธปืนดาบ ทำให้ทั้งโปรตุเกสและสเปนสามารถอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่ค้นพบเหนือชาวพื้นเมืองได้อย่างง่ายดาย จึงนำมาสู่การทำข้อตกลงเพื่อแบ่งเขตอิทธิพลบนผืนโลกใบนี้ โดยแบ่งโลกที่อยู่นอกทวีปยุโรปออกเป็นสองส่วนตามเส้นสมมติสิ่งหลักผ่านใจกลางของทวีปอเมริกาใต้ สเปนได้ดินแดนทางฝั่งตะวันตกของเส้นนั้น ส่วนโปรตุเกสได้ดินแดนทางฝั่งตะวันออกของเส้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับราชสำนักอยุธยา
ในขณะนั้นศาสนาคริสต์เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวยุโรป มีอิทธิพลทางโลกและทางจิตใจ แต่ความศรัทธาที่เกินพอดีกลายเป็นช่องว่างให้ศาสนจักรและเหล่านักบวชหาเงินจากความศรัทธามาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย บาทหลวงรูปหนึ่งจึงลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงคริสตจักรให้เข้าสู่โฉมใหม่ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของศาสนานิกายใหม่ที่ชื่อว่า นิกายโปรเตสแตนต์
ตอนที่ 6 เศรษฐกิจ และศาสนา
ในสมัยนั้น ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดไม่ใช่ประเทศแต่เป็นศาสนจักร นอกจากอำนาจที่อยู่เหนือจิตใจแล้ว ยังเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วยุโรป เช่นเดียวกับทุกเรื่องราวในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์ ผู้ที่มีอำนาจมากเกินไปถึงจุดหนึ่งก็จะย้อนกลับมาทำลายตัวเอง
คริสตจักรคาทอลิกมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีบำรุงศาสนาจากทุกคนที่อยู่ในคริสตจักร และมีสิทธิในการได้รับมอบที่ดินจากผู้ไม่มีทายาท ความร่ำรวยและอำนาจอันเหลือล้นทำให้พระสันตะปาปาและบาทหลวง มีความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยและใช้ความศรัทธาของประชาชนมาหารายได้เพื่อต่อเติมความหรูหราอย่างไม่สิ้นสุด เพื่อหาเงินมาสร้างวิหาร คริสตจักรได้ขายสิ่งที่เรียกว่าใบไถ่บาป
มาร์ติน ลูเธอว์ นักบวชชาวเยอรมันผู้ไม่พอใจกับการขายใบไถ่บาป จึงได้ประกาศจุดยืนต่อต้านคริสตจักรคาทอลิก ไม่นานคำประกาศของเขาก็แพร่หลายไปทั่วเยอรมันและยุโรปเหนือ ซึ่งนำมาสู่การปฏิรูปศาสนาจนกลายเป็นศาสนาคริสต์นิกายใหม่ที่เรียกว่า นิกายรูเธอรัน ในอังกฤษเองก็มีการก่อตั้งนิกายใหม่ซึ่งแยกมาจากคริสตจักรคาทอลิกเช่นเดียวกัน ทั้งศาสนาคริสต์นิกายรูเธอรันและแองกลิคัน ถูกเรียกร่วมกันว่า นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งแปลว่าผู้ต่อต้าน
สเปนซึ่งเป็นราชอาณาจักรคาทอลิกที่มีขนาดใหญ่และมั่นคงที่สุดในเวลานั้น ซึ่งร่ำรวยมาจากการยึดครองดินแดน แต่ก็ไม่ได้นำทองคำมาพัฒนาประเทศเท่าไรนักเพราะค่าใช้จ่ายมักใช้ ไปกับการก่อสงคราม วิธีเดียวที่จะหยุดยั้งหนี้มหาศาล ก็คือการขึ้นภาษี เมื่อมีการขึ้นภาษีและปฏิรูปศาสนา จึงทำให้มีพ่อค้าและนายธนาคารจำนวนไม่น้อยได้เปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์ เหตุผลหนึ่งก็เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีบำรุงศาสนาให้พระสันตะปาปา ผู้ปกครองดินแดงของสเปน จึงไม่พอใจและจับกุมคนที่เปลี่ยนศาสนา จึงทำให้พ่อค้าแอบหนีไปยังเมืองของชาวดัตช์ที่มีชื่อว่าอัมเตอร์ดัม
อัมเตอร์ดัมจึงดึงดูดนักท่องเที่ยวและเหล่าพ่อค้านายธนาคาร รวมไปถึงช่างฝีมือ การประกาศขึ้นภาษีของสเปนทำให้พ่อค้าชาวดัตช์มากมายพากันต่อต้านจนเกิดเป็นการจลาจลทำลายล้างผู้ปกครองขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้เพื่อเอกราชของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ไทยแลนด์แล้วสเปนยังมีศัตรูอีกหนึ่งประเทศซึ่งก็คืออังกฤษ งานเที่ยงกฤตได้จัดตั้งนิกาย และข่มเหงชาวคาทอลิก ก็ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ราชสำนักสเปนอยู่แล้ว อีกเหตุผลหนึ่งก็คือเรื่องโจรสลัดที่คอยดักปล้นกองเรือของสเปน เมื่อควบรวมปัญหาความขัดแย้งทางศาสนากับเรื่องดังกล่าว จึงทำให้สเปนเกิดความ หมดความอดทน
กองเรือของสเปนซึ่งถือเป็นกองทัพที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในยุโรปบุกมาถึงเกาะอังกฤษ กองเรืออังกฤษได้ผูกมิตรกับกองเรือของเนเธอร์แลนด์ระดมทั้งเรือรบและเรือสินค้าให้เข้ามาช่วยสงคราม จนกองเรือของสเปนซึ่งไม่เคยมีใครตอบก่อนได้ต้องพบกับความพ่ายแพ้ปิดฉากความเป็นมหาอำนาจสูงสุด พร้อมเปิดทาง เส้นทางสู่โลกใหม่ของอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ แต่ด้วยความพร้อมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าและความเชี่ยวชาญด้านการเดินเรือ จะพาให้เนเธอร์แลนด์เดินทางออกมาค้าขายกับโลกกว้างได้ไกลกว่าอังกฤษในเวลาเดียวกัน
และเป็นเหตุผลว่าชาติตะวันตกที่สองที่เข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาต่อจากโปรตุเกสคือชาวดัตช์ หรือที่ชาวสยามรู้จักกันในนาม ชาวฮอลันดา
ตอนที่ 7 ฟองสบู่แรก
ไม่ไกลจากญี่ปุ่นชาวดัตช์ได้ตั้งเมื่องท่าค้าขายกับราชสำนักจีน ที่เกาะไต้หวันในปัจจุบัน โดยมีสินค้าคือเครื่องร้ายข้ามหรือพอร์ซเลน นอกจากพอร์ซเลนแล้วชาวดัตช์ยังเป็นผู้นำเข้าสินค้าแปลกใหม่อีกหลายชนิดและสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในยุโรป ทั้งประชาจากจีน กาแฟจากอาหรับ ได้ดอกไม้ชนิดหนึ่งจากจักรวรรดิออตโตมัน ที่ถูกเรียกว่า ดอกทิวลิป ดอกไม้สีสันสดใสมีรูปร่างไม่เหมือนดอกไม้ชนิดอื่นสร้างความหลงใหลให้กับนักสะสมผู้มั่งคั่ง
จึงทำให้ดอกคิวบิกยิ่งมีราคาสูงขึ้น เมื่อความงามของดอกทิวลิปไปสะดุดตากับนักลงทุนผู้คาดหวังว่าราคาจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ แต่เมื่อเบ่งบานจนถึงขีดสุดดอกทิวลิปก็ถึงเวลาร่วงโรยไม่มีใครยอมซื้อในราคาที่สูงขึ้นอีกแล้ว ราคาทิวลิปได้ตกลงอย่างรวดเร็วและแทบหมดค่าไปในระยะเวลาสามเดือนหลังจากนั้น เศรษฐีหลายคนต้องล้มละลายจากการลงทุนในดอกทิวลิป เป็นบทเรียนฟองสบู่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการลงทุน
ความรุ่งเรืองของเนเธอร์แลนด์ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านนั่นก็คืออังกฤษและฝรั่งเศส เมื่อต้องเผชิญศึกทั้งสองด้านผลของสงครามคือความพ่ายแพ้ ช่วงเวลาของเนเธอร์แลนด์จึงค่อยๆเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด เปิดทางให้ทั้งสองประเทศก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ โดยชาวอังกฤษได้ยึดนิคมต่างๆของชาวดัตช์ เมืองนิวอัมสเตอร์ดัมในทวีปอเมริกาจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น นิวยอร์ก
ตอนที่ 8 ครองเทคโนโลยี คือครองโลก
วิทยาศาสตร์ที่เราต้องจำสูตรคำนวณกันตั้งแต่เด็ก บุคคลที่มีส่วนสำคัญต่อการค้นพบความลับของมนุษย์ เรื่องราวเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งลี้ลับสำหรับผู้คนในสมัยก่อน โดยกลุ่มคนชาวยุโรปจำนวนหนึ่งได้ทำการค้นคว้ารวบรวมหลักฐาน ทดลองอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบจนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์
ทำให้เกิดทฤษฎีวิทยาศาสตร์มากมาย หนึ่งในอัจฉริยะบุคคลชาวฝรั่งเศส ได้ค้นพบ ทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานของการประเมินความเสี่ยงสำหรับการประกันภัย และหลังจากการเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ทำให้มีการจัดตั้งบริษัทประกันแห่งแรกของโลก โดยการนำองค์ความรู้ในชีสดีความน่าจะเป็นมาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยง
ทั้งนี้ในการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ทำให้เกิดการค้นพบส่วนที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่ถูกเรียกว่าเซลล์ ซึ่งพัฒนาต่อไปเป็นจุลชีววิทยา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการแพทย์สมัยใหม่ รวมถึงการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงของนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ เซอร์ไอแซกนิวตั้น อีกทั้งนิวตันยังให้กำเนิดวิชาแคลคูลัส ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการค้นพบกฎการเคลื่อนที่และกฎของแรงโน้มถ่วง และเมื่อเทคโนโลยีพร้อมอังกฤษก็พร้อมจะของโลก
ด้วยอาวุธปืนที่มีประสิทธิภาพกว่าอังกฤษทำสงครามชนะเนเธอร์แลนด์และได้ยึดครองเขตอาณาจักรของชาวดัตช์ในทวีปอเมริกา ยาสูบจึงกลายเป็นรายได้หลักของอาณานิคม ดินแดงอาณานิคมอเมริกาของอังกฤษค่อยๆขยายขึ้นจนเป็นสิบสามแห่งถูกปกครองโดยตรงจากอังกฤษ แต่อังกฤษก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ สภาได้ยื่นฎีกาเรียกร้องสิทธิ ซึ่งเรียกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ มีใจความสำคัญว่า ห้ามกะสัตว์ใช้อำนาจออกหรือยกเลิกกฎหมายใดๆโดยที่สภาไม่อนุมัติ ตั้งแต่นั้นมาอังกฤษจึงกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ตอนที่ 9 กำเนิดสหรัฐอเมริกา
แต่ละประเทศต่างก็พยายามขยายการค้าของตัวเอง ด้วยการขยายอาณานิคมโดยใช้นโยบายภาษีไปจนถึงการก่อสงครามเพื่อกีดกันไม่ให้ประเทศอื่นๆทำการค้าขายกับดินแดนอาณานิคมของตน เมื่อเวลาผ่านไปประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยในดินแดนอาณานิคมก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่ก็เป็นคนที่อพยพมาจากเจ้าอาณานิคมในยุโรปนั่นเอง และเมื่อความอดทนมาถึงขีดสุดประชาชนในทวีปใหม่ จะทำในสิ่งที่เจ้าหน้านิคมไม่เคยขาดถึง นั่นคือการประกาศอิสรภาพ
จากการทำสงครามที่ต่อเนื่องและยาวนานของอังกฤษ เพื่อหารายได้มาทดแทนกับค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม สิ่งที่อังกฤษทำคือการเก็บภาษีจากชาวอาณานิคม จึงทำให้เรื่องมาถึงจุดแตกหัก เพราะการออกพระราชบัญญัติลดภาษีใบชาของอังกฤษ สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่พ่อค้าในเมืองบอสตัน จึงรวมตัวกันปลอมเป็นชาวอินเดียแดงลักลอบขึ้นเรือบรรทุกใบชาของอังกฤษแล้วทิ้งลงทะเลทั้งหมด เรียกเหตุการณ์สำคัญนี้ว่างานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน
จนมาถึงในการประชุมสภาแห่งภาคพื้นทวีป โทมัส เจฟเฟอร์สัน ได้ร่างคำประกาศอิสรภาพซึ่งมีใจความว่า สิบสามอาณานิคมใหม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไป ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว แต่กว่าจะได้มาซึ่งอิสรภาพชาวอเมริกันต้องต่อสู้กับกองทัพที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในโลก จนสุดท้ายหลังการสูญเสียทั้งคนและเงินไปกับสงคราม อังกฤษก็ต้องยอมรับเอกราชของสหรัฐอเมริกา จอร์จวอชิงตัน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา
ตอนที่ 10 จากฟองสบู่สู่ปฏิวัติฝรั่งเศส
ในขณะนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสต่างประสบวิกฤตทางด้านการเงิน จุดเริ่มต้นมาจากสงคราม เมื่อกษัตริย์ของสเปนสวรรคตฝรั่งเศสจึงขยายฐานอำนาจไปยังสเปนที่อ่อนแอ อังกฤษซึ่งกลัวว่าฝรั่งเศสจะร่วมกับสเปนจึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส และจากการที่รัฐบาลอังกฤษกู้เงินมากมายเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม ผลลัพธ์ก็คือรัฐบาลอังกฤษมีหนี้สินเป็นจำนวนมหาศาล
และฟองสบู่ทางการเงินของฝรั่งเศส ถอยหลังและถดถอยอย่างร้ายแรง ผู้คนหวาดกลัวกับการใช้เงินกระดาษและเงินเฟ้อทำลายระบบเศรษฐกิจในทุกระดับ นับว่าวิกฤตเศรษฐกิจของฝรั่งเศสหนักหนาสาหัสกว่าอังกฤษมาก รัฐบาลไม่เหลือหนทางในการหาเงินอื่นอีกแล้วนอกจากการขึ้นภาษี ซึ่งผู้เสียภาษีของฝรั่งเศสก็คือชนชั้นที่สามซึ่งก็คือสามัญชนทั่วไป ในขณะที่ชนชั้นสูงยังคงใช้ชีวิตหรูหราในพระราชวังแวร์ซายน์ จนสุดท้ายประชาชนก็หมดความอดทน
การปฏิวัติฝรั่งเศสได้กำเนิดขึ้นแล้ว ชนชั้นที่สามซึ่งได้รวมกันเป็นสมัชชาแห่งชาติ ได้ปรับปรุงกฎหมายหลากหลายอย่าง ต่อมากษัตริย์พยายามจะหลบหนีแต่กลุ่มพรรคการเมืองหัวรุนแรงจึงตัดสินใจประหารชีวิต พระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก ด้วยกีโยติน นอกจากนี้ยังมีชนชั้นสูงและขุนนางอีกหลายพันคนที่ถูกประหารด้วยกีโยตินเช่นกัน ท่ามกลางความวุ่นวายทั้งภายในและภายนอกนายทหารคนหนึ่งได้ก้าวมาเป็นผู้นำในการรบกับอาณาจักรเพื่อนบ้าน ผลจากชัยชนะทำให้ผู้คนยกย่องเขาในฐานะวีรบุรุษ เค้ามีชื่อว่า นโปเลียน โบนาปาร์ต
ระหว่างที่ฝรั่งเศสเต็มไปด้วยความวุ่นวาย แต่ประเทศอังกฤษได้เปรียบจากความสงบทางการเมืองและพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่ง จึงผลักดันให้กรีตก้าวล้ำไปอีกขั้นด้วยการคิดค้นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของมนุษย์ ก็คือสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ตอนที่ 11 ปฏิวัติอุตสาหกรรม
ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ทั้งเศรษฐกิจ ผลของมันทำให้ชีวิตของมนุษย์ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ก่อนหน้านี้การผลิตโดยรวมขึ้นอยู่กับปริมาณแรงงานของมนุษย์หรือสัตว์ในครอบครองคูณด้วยเวลาทำงานเท่านั้น แต่การถือกำเนิดของเครื่องจักรจะนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
แล้วทำไมการปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงเริ่มต้นที่อังกฤษ อังกฤษในขณะนั้นมีความพร้อมหลายอย่างที่ประเทศอื่นในยุโรปไม่มี ทั้งทุนทางความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่ศตวรรษที่สิบเจ็ด รวมถึงมีกฎหมายเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร ความพร้อมด้านวัตถุดิบและตลาด ในประเทศอังกฤษเองก็มีแหล่งกำเนิดถ่านหินหลายแห่งซึ่งเป็นพลังงานที่ขับเคลื่อนโรงงานอุตสาหกรรมในช่วงแรก การขนส่งทางเรือที่มีกองทัพเรือมากที่สุดในโลกสามารถขนส่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปไปได้ทั่วโลก มีการเมืองที่มั่นคง
การประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ เพื่อใช้ไอน้ำมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนเครื่องจักรต่างๆมีจุดเริ่มต้นนวัตกรรมที่ถูกต่อยอดไปได้เรื่อยๆ เมื่อมีเครื่องจักรทำให้ต้องพัฒนาคุณภาพของเหล็กให้ดีขึ้นไม่เปราะง่าย องค์ความรู้ด้านเคมีนำมาสู่การปรับปรุงวิธีการหลอมเหล็กจนได้เหล็กกล้าที่แข็งแรง เมื่อมีเหล็กกล้าจึงนำมาสร้างเป็นร่างและได้พัฒนาเครื่องจักรกลไอน้ำด้วยการเพิ่มลูกสูบและป้อง นั่นคือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่ารถไฟ
การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จในอังกฤษทำให้ประเทศในยุโรปต่างดำเนินเจริญรอยตาม ซึ่งผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เทคโนโลยีได้เข้ามาสู่อุตสาหกรรมทางทหาร อาวุธถูกพัฒนามากขึ้นเกิดปืนไรเฟิลที่มีความแม่นยำสูง เมื่ออาวุธผอมบัดนี้ทรัพยากรที่สำคัญสำหรับประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ใช้แรงงานมนุษย์อีกต่อไปแต่มันคือทรัพยากรธรรมชาติ
ตอนที่ 12 จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน
ทวีปเอเชียบัดนี้ได้ถูกรุกรานด้วยเครื่องจักรของชาวตะวันตก ความต้องการใช้ทรัพยากรเพื่อป้อนโรงงานในยุโรปได้ขับเคลื่อนเหล่าผู้เจริญให้เข้ามายึดครองทรัพยากรจากโลกตะวันออก ด้วยการติดต่อให้ประเทศเหล่านั้นเปิดประเทศเพื่อการค้าเสรีหรือแม้กระทั่งยึดครองเป็นอาณานิคมนโยบายการขยายอำนาจเช่นนี้ถูกเรียกว่าลัทธิจักรวรรดินิยม
อังกฤษประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมจนก้าวหน้าสิ่งที่ต้องการในเวลานี้คือวัตถุดิบและตลาด หลังสูญเสียดินแดนอาณานิคมอย่างสหรัฐอเมริกาทำให้อังกฤษต้องหาอาณานิคมแห่งใหม่ เหยื่อรายแรกคืออินเดีย อดีตจักรวรรดิที่มั่งคั่งไปด้วยอารยธรรมและอุดมไปด้วยเครื่องเทศแต่ข้อเสียเปรียบคือความขัดแย้งทางด้านศาสนา เหยื่อรายถัดมาคือประเทศจีน จากการที่ชาวจีนติดฝิ่น ส่งผลให้อาชญากรรมพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ จนจักรวรรดิเต้ากวงต้องสั่งให้ยุติการค้าฝิ่นกับอังกฤษ และยึดฝิ่นทั้งหมดในโกดังไปทิ้งลงทะเล จึงทำให้เกิดสงครามฝิ่น ผลของสงครามทำให้จีนพ่ายแพ้จนเกิดสนธิสัญญานานกิงและยกเกาะฮ่องกงให้แก่อังกฤษ ผู้แทนอังกฤษประจำฮ่องกงมีชื่อเรียกว่า เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง ซึ่งเป็นคนเดียวกับผู้ที่เข้ามามีบทบาทกับราชสำนักสยามในสนธิสัญญาบาว์ริ่ง
เหยื่อรายถัดมาคือพม่า สงครามทำให้อังกฤษได้ยึดดินแดนของพม่ามากขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดพม่าก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเป็นมาลัยาแต่เดิมบริเวณนี้เป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ อังกฤษได้ครอบครองปีนังสิงคโปร์ แล้วครอบครองตลอดจนทั้งมาเลยา บัดนี้จักรวรรดิอังกฤษได้ครอบครองพื้นที่ไปทั่วทุกทวีปตั้งแต่แคนาดาในทวีปอเมริกาเหนือ กายอานาในทวีปอเมริกาใต้ และอื่นอื่นอีกมากมายในแต่ละทวีป จึงได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน
ตอนที่ 13 ขีดจำกัดความเป็นมนุษย์
งานนิทรรศการโลก นำมาสู่ความกระตือรือร้นในการแข่งขันประดิษฐ์คิดค้นของผู้คนในประเทศอุตสาหกรรมทั้งฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทุกคนทุ่มเทพยายามเพื่อต่อยอดจากองค์ความรู้สู่นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงโลก อเล็กซานเดอร์เกรแฮมเบลล์ เดิมที่ตั้งใจจะประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนหูหนวกสามารถได้ยินเหมือนคนปกติแต่กลับค้นพบวิธีส่งเสียงตามสายพานลวดทองแดง เกิดเป็นการประดิษฐ์โทรศัพท์ไปในที่สุด
ในขณะนั้นนักประดิษฐ์อัจฉริยะที่ทั่วโลกรู้จักโทมัสอาร์วาเอดิสัน การค้นพบครั้งสำคัญของเขาเริ่มต้นจากการหาใส้หลอดไฟ แม้จะมีการประดิษฐ์หลอดไฟขึ้นมาแล้วแต่ด้วยการขาดใส้หลอดที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมทำให้แสงสว่างจากหลอดไฟมีอายุอยู่ไม่นาน จนสุดท้ายก็ได้พบว่าวัตถุดิบที่ดีที่สุดสำหรับการทำไส้หลอดไฟในขณะนั้นก็คือไส้หลอดคาร์บอน
แล้วลอดไปก็สว่างไสวไปทั่วอเมริกา
ในช่วงเวลาที่ฝั่งสหรัฐอเมริกากำลังรุ่งเรืองด้วยสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆฝั่งยุโรปก็ไม่น้อยหน้า ผู้ไม่ใช่อังกฤษแต่กลับเป็นดินแดนที่เพิ่งสร้างประเทศใหม่อย่างจักรวรรดิเยอรมัน อุตสาหกรรมของเยอรมันเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีผลผลิตเหล็กกล้าแซงหน้าอังกฤษ ในขณะที่เครือข่ายทางรถไฟก็โยงใยไปทั่วประเทศ มีการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาป ที่ภายในใช้น้ำมัน จนเกิดเป็นรถยนต์คันแรกของโลก
ผลจากการพ่ายแพ้สงครามฝิ่นต่ออังกฤษ ทำให้จีนต้องเปิดเมืองท้าให้ชาติตะวันตก เข้ามาค้าขายได้อย่างเสรีโดยเสียภาษีนำเข้าไม่เกินร้อยละสองจุดห้า รวมทั้งเรือรบของชาติเหล่านี้สามารถเข้าออก ได้อย่างอิสระ แล้วจีนก็ประสบความพ่ายแพ้อีกครั้งในสงครามต่อมา ข่าวนี้ผู้ชนะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดเล็กกว่ามากอย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นทำการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามยุโรปจนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแห่งเอเชีย
ตอนที่ 14 จุดจบของจักรวรรดินิยม
การแข่งขันสร้างจักรวรรดิที่มากเกินพอดีทำให้มหาอำนาจในยุโรปต้องกระทบกระทั่งกันหลายต่อหลายครั้ง ความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมที่พาโลกก้าวไปข้างหน้ากลับทิ้งรอยร้าวเอาไว้ คือความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นแรงงาน
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นดินแดนแห่งนักประดิษฐ์ยังคงต่อยอดนวัตกรรมจากศตวรรษที่แล้ว มีการนำสายพานมาใช้ในการผลิตรถยนต์ โดยให้อุปกรณ์ไลฟ์ผ่านไปตามสายพานและให้คนงานประกอบรถยนต์ที่ละส่วน ทำให้สามารถออกแบบรถยนต์ที่มีราคาถูกและทนทานได้
ฝั่งทวีปเอเชีย ชาวญี่ปุ่นได้เรียนรู้ซึมซับปรับความรู้ของชาวตะวันตกให้เหมาะสมกับตัวเองจริงส่งนักศึกษาไปเรียนต่อในยุโรปจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตกมาช่วยวางรากฐานอุตสาหกรรม แปลตำราต่างประเทศเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อให้ชาวญี่ปุ่นสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้ แล้วญี่ปุ่นก็กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม เป็นมหาอำนาจแห่งเอเชียด้วยแสนยานุภาพทางการทหารที่ไม่มีใครเทียบได้ ญี่ปุ่นกำลังเริ่มสร้างจักรวรรดิของตัวเองด้วยการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ทั้งจีนและชาติตะวันตกอย่างรัสเซีย
จักรวรรดิจีนระส่ำระสายอย่างหนักสถานการณ์ของจักรวรรดิรัสเซียก็ไม่ต่างอะไรกับจีนมากนัก เมื่อการล่าอาณานิคมดำเนินมาถึงจุดสูงสุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิหน้าใหม่กับจักรวรรดิเดิมเริ่มรุนแรงขึ้น ท้ายที่สุด อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ได้รวมกันตั้งกลุ่มสัญญาไตรภาคี ส่วนจักรวรรดิเยอรมันได้ดึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างจักรวรรดิออสเตรียฮังการี และอิตาลี ร่วมตั้งกลุ่มเป็นสัญญาไตรพันธมิตร เพื่อต่อต้านทั้งสองฝ่าย ต่างสั่งสมอาวุธและกำลังและแสนยานุภาพทางทหารเพื่อรอวันที่ความขัดแย้งจะถูกจุดชนวน และในสุดท้ายก็บานปลายกลายเป็นสงครามที่ใหญ่ที่สุดอย่างที่โลกไม่เคยเจอมาก่อน
ตอนที่ 15 ทวีปใหม่รุ่งโรจน์
ตั้งและอาณานิคมของมหาอำนาจในยุโรปเริ่มกลายเป็นปัญหา การเจริญเติบโตของจักรวรรดิเยอรมันสร้างความไม่พอใจแก่อดีตเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ความขัดแย้งบานปลายจนกลายเป็นสงครามโลกครั้งแรก สงครามโลกฆ่าชีวิตผู้คนไปกว่าสิบล้านคน บาดเจ็บและสูญหายกว่าอีกสามสิบล้านคน แนะนำความล่มสลายมาสู่หลายอาณาจักร ทั้งผู้ชนะอย่างจักรวรรดิรัสเซียและผู้พ่ายแพ้อย่างจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิออสเตรียฮังการี
จักรวรรดิรัสเซียถูกเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการปฏิวัติโดยพรรค บอลเซวิค กลายเป็นสหภาพโซเวียต น้ำมันเริ่มกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญเกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วน ทำให้บริษัทน้ำมันสัญชาติ อเมริกากลายเป็นผู้กลั่นน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ถ้าถามว่าสิ่งไหนที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนไปตลอดกาลก็คงหนีไม่พ้นคำว่ากระแสไฟฟ้า
จักรวรรดิอังกฤษยังคงเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ กรุงลอนดอนจึงเป็นเหมือนศูนย์กลางทางการเงินและการค้าของโลกแต่ความเจริญก้าวหน้าของโลกตะวันตกทำให้จักรวรรดิใหญ่อย่างจีน ถดถอย เมื่อระบอบการปกครองที่มีมานานนับพันปีไม่สามารถรับมือกับโรคที่เปลี่ยนแปลงไป จนสุดท้ายก็ไม่อาจต้านทานกระแสแห่งการปฏิวัติ จึงมีการเปลี่ยนจักรวรรดิให้อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยภายใต้การนำของซุนยัดเซ็น
ตอนที่ 16 ทศวรรษแห่งการฟื้นฟู
สงครามโลกครั้งแรกผ่านไปนับเป็นช่วงเวลาสั้นๆที่โลกเข้าสู่ความสงบอีกครั้ง สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งแทบไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมีเศรษฐกิจที่โตวันโตคืน ส่วนประเทศในยุโรปต่างสูญเสียแรงงานมหาศาลไปกับสงคราม ทำให้ภาคธุรกิจฟื้นตัวด้วยความยากลำบาก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักธุรกิจจากสหรัฐอเมริกาขยายการลงทุนเข้าไปในยุโรปได้มากขึ้น ยุคนี้คือช่วงเวลาของอุตสาหกรรมรถยนต์ บริษัทรถยนต์ทั้งฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างแข่งขันกันออกแบบรุ่นใหม่ๆ ส่งผลให้รถยนต์มีราคาถูกลงและมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามระบบสื่อสารอย่างโทรศัพท์และโทรเลขได้เริ่มแพร่หลายไปทั่ว ในขณะที่การค้นพบทางการแพทย์ก็นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สู่มวลมนุษย์ การค้นพบความสามารถในการฆ่าเชื้อแบททีเรีย เป็นการค้นพบที่ถือว่าเป็นรากฐานของการพัฒนายาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งสามารถช่วยชีวิตผู้คนนับล้านได้ในเวลาต่อมา ฝั่งญี่ปุ่นความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจทำให้แสนยานุภาพทางการทหารเพิ่มพูน ในขณะที่ประเทศในยุโรปต่างฟื้นฟูประเทศ ประเทศที่น่าสงสารคือผู้แพ้สงครามอย่างเยอรมัน จากเดิมที่เศรษฐกิจบอบช้ำจากสงครามอยู่แล้วยังจำเป็นต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศสเป็นมูลค่ามหาศาล
ในขณะนั้นจักรวรรดิอังกฤษเริ่มสูญเสียความมั่นคงต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจจากการใช้หนี้ที่กู้ยืมมาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายในช่วงเวลาสงคราม จนนำมาสู่การสูญเสียอำนาจในการควบคุมดินแดนหลายแห่งที่เคยเป็นรัฐอารักขา สวนทางกับสหรัฐอเมริกาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้นครนิวยอร์กมีโครงสร้างการก่อสร้างตึกมากมาย ความคึกคักทำให้นิวยอร์กแซงหน้ากรุงลอนดอนขึ้นเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทุกอย่างเหมือนกำลังจะไปได้สวยสำหรับประเทศนี้ ในตอนนั้นคงไม่มีใครคิดว่างานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกราเมื่อความโลภเข้าครอบงำ ผู้คนไม่ว่ายากดีมีจนต่างนำเงินเก็บของตนมาลงทุนในตลาดหุ้น แต่สุดท้ายผลประกอบการณ์ไม่เป็นดังที่ตลาดคาดหวัง
เหตุการณ์นี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่หนักหนาและเป็นวงกว้างที่สุดตั้งแต่มนุษย์เคยเจอ นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ราชอาณาจักรสยาม
ตอนที่ 17 ทศวรรษแห่งการตกต่ำ
หากเราเดินไปตามท้องถนนในสหรัฐอเมริกา ทุกๆสามคนที่เราพบเจอจะมีหนึ่งคนที่ตกงาน ปัจจัยหนึ่งเกิดจากวิกฤตการล่มของตลาดหุ้นที่ลุกลามจนนำมาสู่การปิดกิจการของบริษัทต่างๆ สำหรับผู้คนที่กู้เงินธนาคารมาก็ไม่มีเงินใช้หนี้จนธนาคารต้องแบกรับภาระหนี้เสียมากมาย เพื่อประชาชนคนฝากเงินรู้เรื่องนี้ก็รีบไปแห่ถอนเงินจากธนาคาร ผลคือธนาคารคาดเงินนำมาสู่การล้มละลายนับพันๆแห่งในช่วงนั้น เมื่อมีการปิดกิจการผู้คนจึงตกงานยิ่งซ้ำเติมให้การบริโภคลดลง
เมื่อแต่ละประเทศต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจจึงนำมาสู่การปฏิวัติระบบทางการเงินคือการยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำ โดยระบบนี้ริเริ่มจากจักรวรรดิอังกฤษ ตามมาตรฐานทองคำเงินจะถูกพิมพ์ออกมาโดยเลื่อนลอยไม่ได้แต่ต้องมีทองคำเป็นตัวหนุนหลังในฐานะใบแทนทองคำ เพื่อเพิ่มระบบเงินมหาศาล รัฐบาลจึงแก้ปัญหาโดยการยกเลิกผูกติดสกุลเงินกับทองคำแล้วเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ที่เก้าคือสกุลเงินของแต่ละประเทศจะเคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดอย่างอิสระ
ตอนนี้แม้สหรัฐอเมริกาจะเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดมาแล้วระยะหนึ่ง แต่ในแง่การเงิน ดอลลาร์สหรัฐยังคงมีบทบาทระหว่างประเทศน้อยกว่าเงินปอนด์ของอังกฤษ แต่การเปลี่ยนแปลงระบบการเงินของโลกในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทำให้สกุลเงินดอลลาร์เริ่มก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินหลักของโลก
ในอีกฝั่งหนึ่งเยอรมันภายใต้การนำทัพของฮิตเลอร์ ซึ่งได้ขยายแสนยานุภาพทางการทหารจนยิ่งใหญ่ เริ่มเรียกร้องความยุติธรรมที่ตัวเองสูญเสียไปในระหว่างกรอบสงคราม มีการเคลื่อนพลเข้าสู่โปแลนด์ และสิ่งนั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นของมหาสงครามที่มีผลทำลายล้างอย่างเป็นวงกว้างมากที่สุดตั้งแต่มนุษย์เคยพบเจอ
ตอนที่ 18 ทศวรรษแห่งสงคราม
กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ก่อนที่จะลุกลามไปยังดินแดนยุโรปอื่นๆทั้งยุโรปตะวันออก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ฝรั่งเศส นำมาสู่การประกาศสงครามระหว่างกลุ่มประเทศที่เป็นพันธมิตรกันสองฝ่าย ฝ่ายอักษะ ผู้นำประกอบไปด้วย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้นำประกอบด้วย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
จากความเป็นชาตินิยมของอดอล์ฟฮิตเลอร์ นำมาสู่การพยายามขับไล่ผู้คนเชื้อชาติอื่นให้ออกไปจากแผ่นดินแดนของชาวเยอรมัน โดยเฉพาะชาวยิว ตั้งแต่พรรคนาซีก้าวขึ้นมามีอำนาจได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อจำกัดสิทธิ์ของชาวยิว เรื่องนี้นำมาสู่การจัดตั้งค่ายกักกันเพื่อรวบรวมชาวยิว ท้ายที่สุดจึงนำมาสู่การสังหารด้วยวิธีต่างๆ นับเป็นการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
อีกฟากหนึ่งของทวีปเอเชียกองทัพญี่ปุ่นซึ่งยึดครองคาบสมุทรเกาหลี และจีนบางส่วน โดยเฉพาะในนานกิงทหารญี่ปุ่นได้สังหารหมู่ชาวจีนในเมืองมากกว่าสี่แสนคน การกระทำอันอุกอาจนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับญี่ปุ่นยังคงย่ำแย่มาถึงปัจจุบัน แสนยานุภาพของกองทัพทำให้จักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเอเชีย กองทัพญี่ปุ่นได้บุกยึดครองดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทั้งหมด รวมถึงบังคับให้รัฐสยามยอมเป็นทางผ่านไปยังพม่า ภายไต้ฝุ่นควันของสงครามความกดดันบีบคั้นนำมาสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่
เทคโนโลยีที่เคยอยู่บนแผ่นกระดาษทั้งหลายต่างถูกนำมาสานต่อเพื่อทำลายล้าง ระบบเรดาร์แม่เป็นองค์ความรู้ที่ถูกค้นพบมาหลายสิบปี แต่การพัฒนาเพื่อการทหารในช่วงสงครามโลกก็ทำให้เรดาร์ถูกนำมาใช้ในการตรวจหาและติดตามเครื่องบินและเรือ กองทัพอังกฤษพัฒนาเครื่องบินรบที่ใส่เครื่องยนต์ไอพ่นทำให้เกิดแรงดันสูงส่งไปยังด้านหลังของเครื่อง ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปด้านหน้าด้วยความเร็วทะลุเวหา คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็เกิดขึ้นมาในช่วงนี้เหมือนกัน
สหรัฐอเมริกาได้นำทฤษฎีของไอน์สไตน์มาพัฒนาเป็นอาวุธนิวเคลียร์ สิ่งท้ายที่สุดก็เป็นอาวุธนิวเคลียร์นี่เองที่เป็นผู้ปิดฉากสงครามที่ยืดเยื้อเมื่อกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลงใจกลางเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ หลังสงครามสิ้นสุดเทคโนโลยีที่เคยถูกพัฒนาเพื่อทำลายล้างถูกนำมาใช้ในทางสร้างสรรค์tระบบเรดาร์กลายมาเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับการควบคุมจราจรทางอากาศ เครื่องบินไอพ่นถูกนำมาใช้ในวิศวกรรมการบิน และองค์ความรู้ด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ถูกนำมาใช้ในปรมาณูเพื่อสันติ
ภายหลังเยอรมนีในฐานะผู้พ่ายแพ้ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรแบ่งประเทศออกเป็นสองส่วน ก็คือเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออก ส่วนจักรวรรดิญี่ปุ่น ถูกควบคุมโดยกองทัพสหรัฐฯ
ตอนที่ 19 สู่ห้วงอวกาศ
ลักษณะของความขัดแย้งทางอุดมการณ์และพรมแดนเชิงกายภาพที่แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งทุนนิยมเสรีและฝั่งคอมมิวนิสต์ ฝั่งทุนนิยมเสรี นำโดยสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้การปกครองหลายระบอบส่วนใหญ่คือระบอบประชาธิปไตย มีการดำเนินเศรษฐกิจแบบเสรีซึ่งให้เสรีแก่ภาคเอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินต่างๆที่ตนหามาได้ ซึ่งประเทศในยุโรปตะวันตกล้วนดำเนินการระบบเศรษฐกิจในรูปแบบนี้ภายใต้การช่วยเหลือทางการเงินของสหรัฐอเมริกา
ฝั่งคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียต เป็นระบบที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ มีเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆและปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์และเสรีที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและจะทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ
ความขัดแย้งดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่ในทวีปยุโรปเท่านั้นทวีปเอเชียก็เผชิญความขัดแย้งของสองขั้วอุดมการณ์ไม่ต่างกันและความขัดแย้งนี้ก็นำมาสู่สงครามบนคาบสมุทรเกาหลี ดื่มคาบสมุทรเกาหลีเคยถูกยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นแต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองคาบสมุทรแห่งนี้จึงถูกแบ่งการปกครอง โดยประเทศผู้ชนะสงคราม ชุดแบ่งเป็นเส้นขนานที่สามสิบแปด สหภาพโซเวียตข้อความดินแดงส่วนเนื้อซึ่งต่อมากลายเป็นประเทศเกาหลีเหนือ ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาครอบครองดินแดนใต้เส้นขนานซึ่งต่อมากลายเป็นเกาหลีใต้จัดตั้งรัฐประชาธิปไตย เกาหลีเหนือเริ่มบุกเกาหลีใต้ตามความเห็นของโซเวียตทำให้สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรต้องเข้ามาแทรกแซงโดยส่งทหารเข้ามาเกาหลีใต้เพื่อหลบกับเกาหลีเหนือ
ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ต่างพยายามแข่งขันเพื่อเป็นมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร ไม่เพียงแค่นั้นการแข่งขันระหว่างสองประเทศนี้ยังลุกลามไปสู่การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศ เมื่อสหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุกนิกวัน ขึ้นสู่วงโคจรอวกาศซึ่งถือว่าเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นชิ้นแรกที่ได้เดินทางออกนอกโลก ยุคอวกาศได้เปิดขึ้นแล้วตามมาด้วยการส่งดาวเทียมสปุกนิกทู ในครั้งนี้มีสิ่งมีชีวิตตัวแรกของโลกที่ได้เดินทางสู่ห้วงอวกาศคือสุนัขเพศเมียชื่อว่า ไลก้า
สหรัฐอเมริกาเกรงว่าความก้าวหน้าทางอวกาศของโซเวียตจะเป็นภัยต่อความมั่นคง จึงก่อตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ซึ่งนำมาสู่การสร้างดาวเทียมเอ็กซ์พลอเรอร์วัน ดาวเทียมดวงแรกสัญชาติอเมริกันขึ้นสู่วงโคจรในปีเดียวกัน
ตอนที่ 20 สงครามเย็น
กำแพงเบอร์ลินคือสิ่งก่อสร้างที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ถึงการมีอยู่ของสงครามเย็น ความขัดแย้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของสองขั้วอุดมการณ์ แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองฝั่ง แบ่งเยอรมนีออกเป็นสองประเทศ และแบงก์เมืองหลวงออกเป็นสองเมือง รัฐบาลตัดสินใจสร้างกำแพงเบอร์ลินเพื่อแบ่งผู้คนจากเมืองเดียวกันให้แยกออกจากกันความขัดแย้งของสงครามเย็นลุกลามไปทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศเวียดนามคือศูนย์กลางความขัดแย้ง เวียดนามซึ่งเคยถูกยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นผู้แพ้สงครามถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ อยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศผู้ชนะสงครามเวียดนามเหนืออยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน เวียดนามใต้อยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ
เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐที่คงที่ทำให้ได้เปรียบในการส่งออกบวกกับการไม่ต้องทุ่มงบประมาณไปกับการทหารเนื่องจากได้รับการคุ้มครองทางทหารภายใต้สนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกา ล้วนส่งผลให้รัฐบาลสามารถทุ่มงบประมาณมาพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการผลิตได้ กรุงโตเกียวได้ก้าวขึ้นมาเป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้านครนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา ตอกย้ำความสำเร็จด้วยการได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกของทวีปเอเชีย ซึ่งครั้งนี้ญี่ปุ่นได้เปิดตัวนวัตกรรมรถไฟความเร็วสูง ลดด่วนชิงคันเซ็นออกสู่สายตาชาวโลก
ด้วยความพร้อมและองค์กรความรู้ด้านอวกาศที่สะสมมา ยานอวกาศบุกตัน ของสหภาพโซเวียตได้นำมนุษย์คนแรกออกไปโคจรรอบโลกได้เป็นผลสำเร็จ มนุษย์อวกาศคนนี้มีชื่อว่า ยูรีกาการิน ในอีกหนึ่งเดือนถัดมาสหรัฐอเมริกาก็ส่งมนุษย์คนแรกเดินทางสู่อวกาศเช่นกัน คืออลันเชปเพิร์ด ทั้งสองชาติต่างแข่งขันกันพัฒนาการสำรวจอวกาศทั้งดวงจันทร์และดวงดาว แต่แล้วโครงการอะพอลโลสิบเอ็ดของสหรัฐอเมริกาก็ทำให้ทั้งโลกต้องตกตะลึงเมื่อยานอวกาศลำนี้ได้พามนุษย์คนแรกไปเหยียบพื้นผิวของดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จ ภาพของ นิลอาร์มสตรอง ขณะที่ก้าวเดินอยู่บนดวงจันทร์ถูกเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์สู่สายตาของผู้ชมทั้งโลก
ตอนที่ 21 วิกฤติน้ำมัน
ถ้าถามว่าอะไรเป็นเหมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา มีอยู่ด้วยกันสองอย่างคือค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและน้ำมัน เพื่อจะวางตัวให้อยู่ในฐานะผู้นำทางเศรษฐกิจการเงินของโลกสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องกำหนดราคาทั้งสองสิ่งนี้ให้นิ่งและมีเสถียรภาพนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
สหรัฐอเมริกาได้มีการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ในการทำสงครามกับเวียดนามและสร้างสวัสดิการให้แก่ประชาชนโดยไม่ได้ตระหนักถึงปริมาณทองคำสำรองที่ไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นและขาดดุลงบประมาณอย่างมหาศาล นับแต่นั้นมาทองคำก็ได้จบนาทีในการเป็นตัวค้ำประกันเงินตราระหว่างประเทศโดยสมบูรณ์ โดยสิ่งที่เป็นหลักค้ำประกันหนุนหลังทองคำแทนก็คือเงินสำรองระหว่างประเทศ โดยเงินสำรองระหว่างประเทศเกือบทุกประเทศก็จะมีเงินดอลลาร์สหรัฐหรือพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เมื่อจัดการควบคุมค่าเงินดอลลาร์ได้แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องควบคุมให้มีเสถียรภาพคือน้ำมัน
เนื่องจากประเทศอิสราเอลมีสหรัฐอเมริกาเป็นพันธมิตรที่สำคัญกลุ่มประเทศอาหรับนำโดยอียิปต์และซีเรีย โจมตีอิสราเอลในวันสำคัญทางศาสนาของชาวยิว สหรัฐอเมริกาเลือกที่จะให้ความช่วยเหลือแก่อิสราเอลจึงทำให้กลุ่มโอเปกรวมถึงอียิปต์และซีเรียประกาศงดส่งออกน้ำมันให้กับประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเด็ดขาด จึงทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงสี่เท่าและเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงตามมา
ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำมันจนรัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องประกาศนโยบายการประหยัดพลังงาน อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงพลังงานในการผลิตอย่างมากก็เกิดวิกฤตอย่างหนัก รวมถึงในขณะนั้นสหภาพโซเวียตเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตรเนื่องจากระบบการจัดการชลประทานที่ล้มเหลวและการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม ในขณะที่ผลการผลิตภาคอุตสาหกรรมก็ถดถอยเนื่องจากภาวการณ์เสื่อมของเครื่องจักรในโรงงาน ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตกำลังเริ่มสั่นคลอน ทำให้รัฐบาลต้องลดงบประมาณในการสำรวจอวกาศมาใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
วิกฤติน้ำมันที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดการแสวงหาแหล่งน้ำมันจากแหล่งอื่นนอกภูมิภาครวมไปถึงการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นนอกจากน้ำมัน เช่นพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานลง ในขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันและยานยนต์ได้รับผลกระทบอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีกับเติบโต แต่สำหรับญี่ปุ่นประเทศที่กำลังสั่นสะเทือนโลกอยู่นานไม่รู้ว่าในอนาคตอันใกล้ตัวเองกำลังจะเจอปัญหาครั้งใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศชี้เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงให้กลายเป็นประเทศที่สูญหายไปอีกสามทศวรรษ
ตอนที่ 22 ยุคทองของญี่ปุ่น
จากประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยใช้กองทัพสร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ไปทั่วทวีปเอเชีย แล้วต้องพบกับความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง บัดนี้ประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ก้าวข้ามขึ้นมามีบทบาทสำคัญอีกครั้งหนึ่งแต่คราวนี้มาในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลก สินค้าส่งออกสำคัญของญี่ปุ่นที่ออกไปตีตลาดทั่วโลกส่งผลให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
คุณภาพสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงคงทนในราคาที่ถูกกว่าประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ผู้บริโภคในหลายประเทศจึงเลือกนำเข้าสินค้าที่มีสัญชาติญี่ปุ่น จนขาดดุลทางการค้าให้แก่ประเทศนี้อย่างมหาศาล โดย ผู้ขาดดุลรายใหญ่ก็คือสหรัฐอเมริกา เรื่องนี้ได้นำมาสู่ข้อตกลงพลาซ่าที่นครนิวยอร์ก เพื่อช่วยลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาข้อตกลงนี้จะทำให้เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเกือบสองเท่าในทันที
แต่ผลที่ตามมากลับตรงกันข้ามกับความคาดหวังญี่ปุ่นหันมาปรับการบริหารให้คล่องตัว ราคาที่ดินในญี่ปุ่นซึ่งเล็กกว่าสหรัฐอเมริกามีมูลค่าสูงกว่าสี่เท่า นอกจากนั้นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นต่างแห่กันออกไปซื้อกิจการและอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ชาวญี่ปุ่นที่กำลังมีความสุขอยู่บนความมั่งคั่ง ส่วนหนึ่งก็มีที่มาจากนโยบายทางการเงินที่หละหลวมธนาคารทำการปล่อยกู้ง่าย แม้จะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่กระตุ้นการบริโภคให้คึกคักแต่กลับนำมาสู่การใช้จ่ายเกินตัวของภาคเอกชน
ในขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นกลับทำให้เงินลงทุนไหลออกจากญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อออกไปเก็งกำไรในตลาดเงินระดับโลกธนาคารกลางญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศให้สูงขึ้นโดยหวังจะสกัดการไหลออกของเงินแต่เงินก็ยังคงไหลออกไม่หยุด แต่อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นกลับทำให้ประชาชนและบริษัทญี่ปุ่นที่ทำการกู้เงินไม่สามารถชำระหนี้ได้ ในที่สุดงานเลี้ยงต้องมีวันเลิกราโดยไม่มีใครคาดคิดว่าดินแดนพระอาทิตย์อุทัยจะเดินทางมาสู้ ยามอัสดงได้ภายในเวลาทศวรรษเดียว
ตอนที่ 23 ฟองสบู่ดอตคอม
สาธารณชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เป็นครั้งแรกในตอนนั้นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เมื่อผู้คนสามารถเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้นส่งผลให้คอมพิวเตอร์จากที่ถูกมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยกับกลายเป็นสิ่งของจำเป็นในเวลาไม่นาน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เป็นยุคที่บริษัทเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ธุรกิจใหม่ๆในโลกออนไลน์เกิดขึ้นมากมายเป็นเพราะช่องทางทำตลาดใหม่ที่มีต้นทุนต่ำกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีชื่อลงท้ายด้วยดอทคอมจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตามบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งซึ่งมักเรียกว่าบริษัทดอทคอมมักใช้แผนกลยุทธ์ที่เน้นการเติบโตโดยสร้างฐานจากลูกค้าให้ได้มากที่สุดก่อนแม้จะต้องขาดทุนในตอนแรก ไม่ว่าจะเป็นการให้การบริการในราคาถูกและมุ่งเน้นโฆษณาแบรนด์ตัวเองให้เป็นที่จดจำเพื่อหวังกำไรที่ดีในอนาคต
แต่เมื่อความคาดหวังนั้นสูงเกินไปและกำไรของบริษัทโตไม่ทัน ทำให้สุดท้ายการเก็งกำไรต้องมาถึงจุดสิ้นสุด สหัสวรรษใหม่กำลังเปิดฉากขึ้นพร้อมกับวิกฤตที่เรียกว่าฟองสบู่ดอทคอม เป็นวิกฤติลูกไม้ที่เป็นเรื่องราวใหม่แต่ไม่ต่างอะไรกับยุคก่อนที่มีต้นเหตุเหมือนกันนั่นก็คือความโลภของมนุษย์
ตอนที่ 24 วิกฤติซับไพรม์
เป็นการเปิดฉากความก้าวหน้าที่เต็มไปด้วย เทคโนโลยี ที่ไม่มีมนุษย์ในช่วงเวลาใดๆ เคยได้เห็น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ต่อยอดมาจากทศวรรษก่อนนำมาสู่การก่อตั้งบริษัทใหม่ในทศวรรษนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ทิ้งไว้จากทศวรรษก่อนก็คือการเก็งกำไรในธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยีแต่เมื่อความคาดหวังนั้นสูงเกินไปและกำไรของบริษัทเติบโตไม่ทัน ขี้เกียจเป็นวิกฤติที่เรียกว่าฟองสบู่ดอทคอม
มีการรวมกลุ่มของประเทศในยุโรป ที่เรียกกันว่าสหภาพยุโรป ในจำนวนนี้มีประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรหรือเรียกว่ายูโรโซน นอกจากจะใช้สกุลเงินรวมกันประเทศเหล่านี้ยังตกลงกันว่าจะใช้นโยบายการเงินร่วมกัน ซึ่งถูกกำหนดโดยธนาคารกลางยุโรป เมื่อเศรษฐกิจของเยอรมนีย่ำแย่เพราะฟองสบู่ดอทคอมธนาคารกลางยุโรปจึงได้ลดอัตราดอกเบี้ยลง
แต่ในความจริงแล้ว บางประเทศล้วนมีระดับเศรษฐกิจที่แตกต่างกันเมื่อมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของเยอรมนีอีกหลายๆประเทศที่ไม่มีปัญหาเศรษฐกิจกลับได้รับการกระตุ้นเศรษฐกิจไปด้วยจึงกลายเป็นว่าไม่กระตุ้นฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ของประเทศอื่นๆโดยเฉพาะ ไอซ์แลนด์ สเปน อิตาลี และกรีซ
และในขณะนั้นประเทศจีน ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก นำไปสู่การขยายตัวของการลงทุนอย่างมหาศาลเพื่อที่จะเป็นโรงงานของโลกโดยอาศัยความได้เปรียบในแง่ของต้นทุนและวัตถุดิบและค่าแรงที่ถูกกว่า จึงกลายเป็นผู้นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์หลักของโลกผลักดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งเล็ก ถ่านหิน ยางพารา และน้ำมันดิบราคาพุ่งทะยานและส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วโลก
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงมีราคาพุ่งสูงไม่หยุด แม้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วก็ตาม อย่างนี้เองทำให้สถาบันทางการเงินในสหรัฐอเมริกามีปัญหาอย่างหนัก สถาบันการเงินต่างๆ ล้มตามกันเหมือนโดมิโน จีดีพีของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปจึงลดฮวบ ธนาคารกลางสหรัฐได้เปลี่ยนนโยบายโดยการทำการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อพยายามแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆแต่การลดดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวก็ยังไม่อาจลดผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจได้ยังมีบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งที่ประสบปัญหาขาดทุนแต่อยู่ในสถานะที่ใหญ่เกินกว่าจะล้ม
ตอนที่ 25 บทสรุปของมนุษยชาติ
วิกฤตซับไพรม์ ที่ถือกำเนิดในสหรัฐอเมริกาก่อนจะแพร่ขยายลุกลามไปทั่วโลก ก่อให้เกิดการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกาได้ถูกลดจนใกล้เคียงศูนย์ มีไม่กี่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่คนฝากเงินธนาคารแล้วไม่ได้อะไรเลย
แต่ความล้ำหน้าในด้านเทคโนโลยีมานานหลายทศวรรษของสหรัฐอเมริกาทำให้ประเทศนี้คลองตำแหน่งฐานะมหาอำนาจของโลกไปโดยปริยาย ในขณะที่อีกซีกโลกหนึ่งมีผู้ท้าชิงรายใหม่ก้าวขึ้นมาเพื่อท้าชิงตำแหน่งนี้ ประเทศจีนมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลก ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว สำนักงานทางเศรษฐกิจหลายแห่งต่างคาดการณ์ว่าประเทศจีนจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าสหรัฐอเมริกาภายใน สิบปีข้างหน้า
เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมและเพิ่มมูลค่าขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าจีนเพื่อพลิกโฉมประเทศจีนจากแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกให้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม สิ่งที่จีนต้องทำคือวิธีที่จะนำเทคโนโลยีมาครอบครองเพื่อต่อยอดและพัฒนาประกอบไปด้วยการเข้าซื้อกิจการของบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกแล้วใช้ความเป็นหุ้นส่วนในการดึงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีออกมาหรือห้าบริษัทไฮเทคต่างๆของชาวต่างชาติ ชักชวนให้มาตั้งถิ่นฐานการผลิตที่ประเทศจีนแลกกับการให้บริษัทสัญชาติจีนร่วมทุนด้วย สหรัฐอเมริกาจึงพยายามทุกวิธีทางทั้งใช้ประเด็นในการค้าไม่เป็นธรรมและการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามาขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
อย่างไรก็ตามฝ่ายจีนก็ไม่ยอมที่จะเสียเปรียบสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน จีนมีความได้เปรียบในเรื่องของการมีตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกรวมถึงการเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าติดตามต่อไปว่าท้ายที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร
สั่งซื้อหนังสือ “เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี” ได้ที่นี่ : คลิ๊ก